fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MET) 2024 |
1. | การพัฒนาระบบติดตามและแสดงผลกระบวนการผลิตโดยใช้ IIoT กรณีศึกษา ชุดจำลองระบบการผลิตอัตโนมัติ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สิรวิชญ์ สวิง | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการนำเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 มาประยุกต์ใช้ในการผลิตอัจฉริยะ โดยมุ่งเน้นที่การแก้ไขปัญหาความท้าทายด้านการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม ระบบตรวจสอบและควบคุมแบบเรียลไทม์ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรม Node-Red และแสดงผลข้อมูลผ่านโปรแกรม Grafana สามารถติดตามข้อมูลสำคัญในการผลิตได้ ประกอบด้วย จำนวนชิ้นงานการผลิต สถานะของเครื่องจักร ปริมาณการใช้พลังงาน ระดับความสั่นสะเทือน และระดับอุณหภูมิของเครื่องจักร นอกจากนี้ระบบยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และดำเนินการแก้ไขได้โดยอัตโนมัติ ส่งผลให้กระบวนการทำงานของเครื่องจักรมีความต่อเนื่อง เพิ่มค่าความแม่นยำในการผลิต สามารถทราบผลการดำเนินงานได้อย่างทันท่วงที และช่วยในการวางแผนการผลิตรวมถึงการจัดการการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าระบบประกอบด้วย สถานะทำงาน สถานะหยุดทำงาน สถานะกำลังดำเนินการ และสถานะเสร็จสิ้นการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับแผนการผลิตที่กำหนดไว้ 4 ชิ้นงาน โดยแบ่งประเภทวัสดุออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ อะลูมิเนียม พลาสติกสีเหลือง และพลาสติกสีดำ ระบบสามารถแสดงผลความสำเร็จของการผลิตได้ 100% สามารถตรวจสอบการใช้พลังงานทุกสถานีต่อการผลิต 1 ชิ้นคือ 0.0375 kWh และควบคุมอุณหภูมิการทำงานของเครื่องจักรให้อยู่ที่ระดับเหมาะสม 27.5 องศาเซลเซียสได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ระบบยังสามารถตรวจสอบระดับการสั่นสะเทือนของมอเตอร์สายพานลำเลียงหลัก ซึ่งมีค่าปกติที่ 0.7 มิลลิเมตรต่อวินาที และสามารถปรับความเร็วของเครื่องจักรได้โดยอัตโนมัติเมื่อตรวจพบความผิดปกติ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงการควบคุมระยะไกลช่วยให้สามารถดำเนินการปิดเครื่องฉุกเฉินและปรับปรุงพารามิเตอร์ต่างๆ ได้ตา
Full Text : Download! |
||
2. | การออกแบบเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับระบบตรวจจับข้อบกพร่องของ PCB โดยใช้ YOLOv10 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สุมารินทร์ เรืองโรจน์ | ||
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาระบบตรวจจับข้อบกพร่องบนแผงวงจรพิมพ์ (PCB) โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกผ่านโมเดล YOLOv10 เพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในการตรวจจับข้อบกพร่อง การศึกษาได้ทำการติดป้ายกำกับภาพที่มีข้อบกพร่องทั้งหมด 980 ภาพ โดยใช้แพลตฟอร์ม Roboflow ซึ่งช่วยในการจัดการชุดข้อมูลต่าง ๆ เช่น การทำ Labeling, Preprocessing, Augmentation, และการแปลงข้อมูลเพื่อนำไปฝึกโมเดล AI
ชุดข้อมูลถูกแบ่งออกเป็น 80% สำหรับการฝึกโมเดลและ 20% สำหรับการทดสอบ โดยในชุดข้อมูลการฝึกโมเดลจะถูกแบ่งย่อยเป็น 64% สำหรับการฝึกและ 16% สำหรับการตรวจสอบความถูกต้อง การตรวจจับข้อบกพร่องสามารถระบุได้ถึง 5 ประเภทหลัก รวมถึงการเชื่อมต่อที่ไม่สมบูรณ์ รอยแตก และการวางชิ้นส่วนผิดตำแหน่ง การศึกษาได้ใช้เทคนิค CSPNet และ PANet ที่ถูกผสมผสานเข้าไปใน YOLOv10 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรวมฟีเจอร์จากหลายเลเยอร์ ซึ่งทำให้ระบบสามารถตรวจจับวัตถุได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง
ผลการทดลองพบว่า YOLOv10 สามารถตรวจจับข้อบกพร่องได้อย่างแม่นยำ โดยมีค่า F1-Score และ mAP50 มากกว่า 95% ระบบนี้ไม่เพียงแต่ลดความผิดพลาดในการผลิต แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของการนำเทคโนโลยีแมชชีนวิชั่นมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต PCB
Full Text : Download! |
||
3. | : การหาอิทธิพลของแรงเสียดทานและความเร็วของหัวกดต่อความแข็งของชิ้นงานทุบขึ้นรูปเย็นวัสดุ S20C ด้วยกรรมวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ยอดรัก รีสิงห์ | ||
การศึกษานี้มุ่งตรวจสอบผลกระทบของค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานและความเร็วของหัวกดต่อความแข็งของเหล็ก S20C หลังการทุบขึ้นรูปเย็น โดยใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ผ่านโปรแกรมวิศวกรรมสำเร็จรูป Simufact Forming พิจารณาระดับค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน 5 ระดับประกอบด้วย 0.02, 0.04, 0.06, 0.08, และ 0.10 ใช้ความเร็วการเคลื่อนที่ของหัวกด 3 ระดับประกอบด้วย 200, 220 และ 240 มิลลิเมตร ต่อ วินาที บนแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปเย็นแบบ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วยแม่พิมพ์เตรียมรูปทรงเริ่มต้น แม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปชิ้นงานตามแบบ และแม่พิมพ์ตัดขอบ ผลการจำลองด้วยโปแกรมพบว่า ความเร็วการเคลื่อนที่ของหัวกดสูงทำให้วัสดุไหลได้เร็วขึ้นมีโอกาสเกิดการกระจายความเครียดที่ไม่สม่ำเสมอในชิ้นงานและเพิ่มอุณหภูมิในพื้นที่ที่มีแรงเสียดทานสูงจากความร้อนที่เกิดขึ้น ทำให้ความแข็งลดลงในบางจุด ความเร็วต่ำส่งผลให้การกระจายความเครียดดีขึ้นและเกิดความเครียดแข็งมากขึ้น ส่งผลต่อความแข็งที่สม่ำเสมอ แรงเสียดทานสูงทำให้การไหลของวัสดุถูกจำกัด โดยเฉพาะบริเวณผิวสัมผัสของแม่พิมพ์และชิ้นงาน แรงเสียดทานต่ำช่วยให้วัสดุไหลได้ดีขึ้น ลดการสะสมของแรงกดในพื้นที่เฉพาะ ทำให้ความแข็งกระจายสม่ำเสมอมากขึ้น การควบคุมความเร็วหัวกดและแรงเสียดทานให้อยู่ในระดับสมดุลจะช่วยให้ชิ้นงานมีความแข็งที่เหมาะสมและกระจายตัวสม่ำเสมอ พร้อมทั้งลดปัญหาอุณหภูมิสูงและความเสียหายของแม่พิมพ์ในกระบวนการผลิต ที่ระดับสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน 0.04 ระดับความเร็วของหัวกดที่เหมาะสมที่ 220 มิลลิเมตรต่อวินาที ให้ค่าอุณหภูมิ การกระจายความเครียด การไหลของเนื้อวัสดุและแรงกดที่ส่งผลให้ได้ค่าความแข็งของชิ้นงานเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับผลการทดลอง ผลการศึกษานี้นำเสนอข้อเสนอแนะที่สำคัญสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพสภาพการทุบขึ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250