fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การนำหลักการระบบการผลิตแบบโตโยต้า มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการหยิบสินค้าตามใบสั่งซื้อ กรณีศึกษา คลังสินค้าธุรกิจขายปลีก : กิจกรรมหลักของคลังสินค้าจะมีอยู่หลายกิจกรรม ซึ่งทุกกิจกรรมที่ทำในคลังสินค้ามีผลกระทบต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งสิ้น แต่สำหรับกิจกรรมการหยิบสินค้า (Picking) นั้น ถือเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญสูงสุดและส่งผลกระทบต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
สารนิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอการนำหลักการ TPS โดยเฉพาะทฤษฏี Continouous Flow และทฤษฏี Heijunka มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการหยิบสินค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานได้ทำงานในความเร็วที่ใกล้เคียงกันและส่งต่องานอย่างต่อเนื่องกัน อันจะส่งผลให้งานระหว่างผลิต (Work in Process) และเวลาหยิบสินค้าของพนักงานแต่ละชั้นวางลดน้อยลง รวมทั้งยังกาจัดการว่างงานและการรอคอยงานให้น้อย
ผลที่ได้ คือ เวลาหยิบสินค้า (Picking Time) ขายดีโดยรวมมีค่าลดลง 23.35 วินาที/ใบสั่งจัด รวมทั้งช่วงเวลาหยิบสินค้าขายดีของพนักงานแต่ละชั้นวางจากเดิม 2.75-8.25 วินาที/รายการ เปลี่ยนมาเป็น 3.00-4.75 วินาที/รายการ ซึ่งเวลาหยิบสินค้าโดยรวมสั้นลง นอกจากนี้ช่วงเวลาหยิบสินค้าที่ใช้ยังแคบลง ซึ่งหมายถึงพนักงานแต่ละชั้นวางเริ่มใช้เวลาหยิบสินค้าที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการส่งต่องานแบบ ONE PIECE FLOW นอกจากนี้ยังสามารถลดจำนวนพนักงานที่ใช้ในการหยิบสินค้าจาก 9 คน มาเป็น 8 คนได้ รวมถึงยังพบว่า ปริมาณตะกร้าที่รอการจัดสินค้า (Work in Process) บนรางมีจำนวนลดลง ซึ่งแสดงว่าการทำงานของพนักงานในแต่ละชั้นวางเกิดความสมดุลขึ้น
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
69 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250