fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การประหยัดน้ำและพลังงานไฟฟ้า ด้วยเทคนิคการวินิจฉัยด้านการผลิต กรณีศึกษา เครื่องล้างชินงานอัตโนมัติ : สารนิพนธ์ฉบับนี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประหยัดน้ำและพลังงานไฟฟ้า ด้วยเทคนิคการวินิจฉัยด้านการผลิต และได้เลือกเครื่องล้างชิ นงานอัตโนมัติเป็นเครื่องจักรตัวอย่างเพื่อดำเนินการปรับปรุงโดยพิจารณาประโยชน์ 2 ด้าน ด้านแรกจะเป็นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้านที่สองจะเป็นการลดต้นทุนในการผลิต เพื่อให้ธุรกิจสามารถลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ การศึกษานี้จะเริ่มจากการสำรวจหน้างาน (Fact Finding) เพื่อหาความสูญเปล่าโดยใช้หลักความสูญเปล่า 7 ประการ (7 Wastes) เก็บข้อมูลการใช้ทรัพยากรน้ำและไฟฟ้าของเครื่องจักรตัวอย่าง หลังจากนั้นจะทำการลำดับความสำคัญของปัญหา โดยพิจารณา 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความยากง่ายในการปรับปรุง ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับและต้นทุนที่ใช้ในการปรับปรุง มาเป็นตัวกำหนดแผนการดำเนินงาน และออกแบบการปรับปรุงงานโดยใช้เทคนิค Kaizen และ ECRS
หลังจากดำเนินการปรับปรุงเครื่องจักรและทำการเก็บข้อมูลการใช้น้ำและพลังงานไฟฟ้าอีกครั้ง พบว่า
1. ปริมาณการใช้น้ำของเครื่องจักรได้ลดลงจาก 5,517 ลูกบาศ์กเมตรต่อปี เป็น 3,806 ลูกบาศ์กเมตรต่อปี หรือคิดเป็น 31.01% คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 37,642 บาทต่อปี
2. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องจักรได้ลดลงจาก 209,907 KWH ต่อปี เป็น 158,427 KWH ต่อปี หรือคิดเป็น 24.05% คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 159,588 บาทต่อปี
3. คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุง โดยก่อนปรับปรุงมีอัตราของดี 97.41% ของเสีย 2.98% และอื่นๆ (เช่น งานทดลอง) 0.51% และหลังปรับปรุงมีอัตราของดี 97.94% ของเสีย 2.09% และอื่นๆ 0.46%
4. เมื่อเปรียบเทียบเงินลงทุนกับผลตอบแทนที่ได้ (Pay Back Period) เท่ากับ 0.25 ปี หรือประมาณ 3 เดือน
สำหรับสถานประก
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
97 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250