fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การศึกษาศักยภาพจังหวัดเมืองรองในเขตภาคเหนือ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นแบบพำนักระยะยาว : จากแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564) มีนโยบายการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อการสร้างรายได้และกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยกําหนด 55 จังหวัดเป็นจังหวัดเมืองรอง ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ศึกษาเฉพาะจังหวัดเมืองรองในเขตพื้นที่ ภาคเหนือ มีทั้งหมด 16 จังหวัดที่ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน ลําพูน ลําปาง พะเยา แพร่ น่าน ตาก อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กําแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และ อุทัยธานี เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ การวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาศักยภาพความพร้อมของจังหวัดเมืองรองในเขตภาคเหนือ ของไทย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นแบบพํานักระยะยาว โดยพิจารณาจากดัชนีชี้วัดที่ สําคัญทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ (1) การพัฒนาแบบทั่วถึง (2) การเติบโตทางเศรษฐกิจและ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (3) ประสิทธิภาพในการดําเนินงานของภาครัฐ (4) การ เติบโตทางเศรษฐกิจสีเขียว (5) ดัชนีความก้าวหน้าของคน ดัชนีเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นถึงแนวทาง ความเป็นไปได้ในการรองรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นเข้ามาพํานักระยะยาวในจังหวัดเมืองรอง ของภาคเหนือ การศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น แบ่งประเภทการ ท่องเที่ยวเป็น 10 ประเภท ตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของไทย ได้แก่ (1) กลุ่มท่องเที่ยว อารยธรรมล้านนา กลุ่มชาติพันธุ์ (2) กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลก ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและ กําแพงเพชร (3) กลุ่มท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในพื้นที่จังหวัด (4) กลุ่มท่องเที่ยวเชิงประเพณี วัฒนธรรม และอารยธรรมขอมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (5) กลุ่มท่องเที่ยว วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ําโขงในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 6) กลุ่มท่องเที่ยวเชิงกีฬา สันทนาการในพื้นที่
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
104
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม