fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขของผู้ประกอบอาชีพล่ามภาษาญี่ปุ่น : งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อมุ่งศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นของผู้ประกอบอาชีพล่ามภาษาญี่ปุ่น และแนวทางแก้ไขพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพล่ามภาษาญี่ปุ่น โดยใช้แบบสัมภาษณ์จากมุมมองของผู้เป็นล่ามที่มีประสบการณ์ทำงานไม่เกิน 5 ปี ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์ผู้เป็นล่ามญี่ปุ่น-ไทย จำนวน 30 คน และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น รองศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต โรจน์อารยานนท์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบแนะนำปากต่อปากจากนายกสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย คุณถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล และสมาชิกสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย คุณวิฑูรย์ ภูริปัญญาวานิช ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านนักแปลและล่ามภาษาญี่ปุ่น การศึกษาปัญหาของผู้ประกอบอาชีพล่ามภาษาญี่ปุ่น ได้แบ่งประเภทปัญหาของผู้ประกอบอาชีพล่ามภาษาญี่ปุ่น โดยพัฒนามาจากทฤษฎีการสื่อสารการสื่อสารของโอดอนแนลล์และเคเบิล ได้แก่ (1) ลักษณะเฉพาะส่วนบุคคล (2) ทักษะในการสื่อสาร (3) ทัศนคติ (4) ความรู้ (5) ความเชื่อ/ค่านิยม/บรรทัดฐาน/วัฒนธรรม (6) สภาพแวดล้อมภายใน (7) สภาพแวดล้อมภายนอก ผลการวิจัยพบว่า ประเด็นสาเหตุปัญหาของล่ามภาษาญี่ปุ่นจากการสัมภาษณ์ล่าม 30 คน ซึ่งจะสรุปเพียง 3 ประเด็นสำคัญ จากทั้งหมด 87 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นสาเหตุปัญหาของล่ามที่มีคนพูดถึงมากที่สุดอันดับ 1 คือ ฐานความรู้ไม่เพียงพอ ไม่รู้ศัพท์ ไม่มีความรู้ในเรื่องที่ล่าม ประเด็นปัญหาที่ถูกกล่าวถึงมาเป็นอับดับ คือ ฟังไม่ออก ฟังไม่ทัน ตามเนื้อเรื่องไม่ทัน ประเด็นปัญหาที่ถูกกล่าวถึงมาเป็นอับดับ 3 คือ ขาดต้นแบบหรือรุ่นพี่ล่าม ที่ช่วยสอนงาน ชี้แนะ ถ่ายทอด ความรู้ในองค์กร และความเชื่อ, ค่านิยม และวัฒนธรรมของไทยและญี่ปุ่นต่างกัน และแนวทางการแก
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
159
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม