fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการย้ายถิ่นฐานของนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่น : การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อปัจจัยดึงดูดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน 2) ลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลอันส่งผลต่อปัจจัยผลักดันการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ ณ ประเทศญี่ปุ่นจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 364 คน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน และ การทดสอบค่าความแปรปรวน (One-way ANOVA)
ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 69.0 อายุระหว่าง 23-28 ปี คิดเป็นร้อยละ 48.1 เลือกศึกษาในระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 28.8 มีระยะเวลาการพำนักมากกว่าสองปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 45.6 มีความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นในระดับ N2 คิดเป็นร้อยละ 34.6 มีประสบการณ์การทำงานในประเทศไทยมาก่อน คิดเป็นร้อยละ 60.4 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 100,001-150,000 เยน คิดเป็นร้อยละ 29.9
ผลการศึกษาปัจจัยดึงดูดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านการเมือง พบว่า เพศ และระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นส่งผลกับการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานด้านเศรษฐกิจ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และพบว่า อายุ ส่งผลกับการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานด้านสังคม และพบว่า รายได้ ส่งผลกับการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานด้านการเมืองที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
ผลการศึกษาปัจจัยผลักดันการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านการเมือง พบว่า เพศ ส่งผลต่อปัจจัยผลักดันการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานด้านเศ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
96 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250