fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
อิทธิพลของการตระหนักรู้ในงานที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นปรารถนาอย่างแรงกล้าในงานของพนักงาน : การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เปรียบเทียบความมุ่งมั่นปรารถนาอย่างแรงกล้าในงานของพนักงานในกลุ่มพนักงานที่มีอายุงาน ลักษณะงานที่รับผิดชอบ และทำงานในองค์กรที่มีสัญชาติแตกต่างกัน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้ในงานกับความมุ่งมั่นปรารถนาอย่างแรงกล้าในงานของพนักงาน และ 3) อิทธิพลของการตระหนักรู้ในงานที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นปรารถนาอย่างแรงกล้าในงานของพนักงาน มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 421 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบตามสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ความแปรปรวนทางเดียว และการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 ผลการศึกษาระดับพบว่า การตระหนักรู้ในงานของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูง ( = 3.42) โดยรายด้านมีค่าเฉลี่ย ( ) อยู่ระหว่าง 3.27 ถึง 3.64 และความมุ่งมั่นปรารถนาอย่างแรงกล้าในงานของพนักงานของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูง ( = 3.52) โดยรายด้านมีค่าเฉลี่ย ( ) อยู่ระหว่าง 3.06 ถึง 3.84 ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) พนักงานที่มีอายุงาน ลักษณะงานที่รับผิดชอบ และทำงานในองค์กรที่มีสัญชาติแตกต่างกัน มีระดับความมุ่งมั่นปรารถนาอย่างแรงกล้าในงานของพนักงานด้านการอยู่กับองค์กร ด้านการอุทิศตนเพื่อผลงานที่ดีเลิศ และด้านการใช้ความเพียรและมานะอดทนที่แตกต่างกัน 2) การตระหนักรู้ในงานด้านปัจจัยองค์กร ปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร และปัจจัยงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความมุ่งมั่นปรารถนาอย่างแรงกล้าในงานของพนักงานโดยรวม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.658, 0.628 และ 0.606 ตามลำดับ และ 3) การตระหนักรู้ในง
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
141
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม