fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การเพิ่มมูลค่าให้ขยะกระดาษและเศษผ้าสิ่งทอ โดยใช้เทคโนโลยีการอัดถ่านชีวภาพ : งานวิจัยนี้ได้ทดสอบนำวัสดุเหลือใช้จากภาคการศึกษา จากภาคอุตสาหกรรม และจากภาคการเกษตร ได้แก่ เศษกระดาษ เศษผ้าจากโรงงานสิ่งทอ และขี้เลื่อยไม้ยางพารา มาศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตถ่านชีวภาพ (Biocoke) และ หาอัตราส่วนที่เหมาะสม ในการผสมกระดาษ เศษผ้า กับ ขี้เลื่อย พบว่าสามารถขึ้นรูปเป็นถ่านทรงกระบอกได้ โดยอัดวัสดุแต่ละชนิดและอัดวัสดุผสมเป็นคู่จากวัสดุสามชนิดนี้ ได้แก่ ขี้เลื่อยกับกระดาษ และเศษผ้ากับขี้เลื่อย ที่อัตราส่วนการผสม 80:20 60:40 50:50 40:60 และ 20:80 อัดขึ้นรูปเป็นก้อนถ่านชีวภาพ โดยใช้อุณหภูมิ 170 oC ความดัน 16 MPa ระยะเวลา 20 นาที โดยพิจารณาลักษณะทางกายภาพ สมบัติทางความร้อน สมบัติทางกล สมบัติทางเคมี และภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ประกอบกัน ถ่านชีวภาพจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราให้ค่าความหนาแน่นสูงสุดที่ 1.339 g/cm3 ตามด้วยกระดาษและเศษผ้าจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีค่า 1.201 g/cm3 และ1.073 g/cm3 ตามลำดับ กรณีวัสดุผสมจากขี้เลื่อย 80% ต่อเศษกระดาษ 20% ให้ค่าความหนาแน่นสูงถึง 1.358 g/cm3 จะมีค่าการทนต่อแรงอัดสูงสุด โดยที่เศษผ้าตัดเป็นชิ้นอัดจะให้ค่าอยู่ที่ 16.0 kgf/cm2 ถ่านชีวภาพที่ผลิตจากเศษผ้าสิ่งทอจะให้ค่าความร้อนสูงสุดที่ 6.137 kcal/g สูงกว่าสองเท่าของค่าความร้อนถ่านที่ผลิตจากกระดาษ 100% ที่มีค่าเท่ากับ 2.991 kcal/g แต่ต่ำกว่าค่าความร้อนของถ่านชีวภาพที่ใช้งานในปัจจุบัน ที่ประมาณ 4.2 – 5.0 kcal/g จึงจำเป็นต้องประยุกต์ใช้กระดาษผสมกับวัสดุอื่น เพื่อให้ได้ค่าความร้อนที่ดีขึ้น จากการถ่ายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์ดิจิทัลที่กำลังขยาย 1000x พบว่ามีเพียงขี้เลื่อยเท่านั้นที่เกิดกระบวนการเปลี่ยนสภาพของคาร์บอนกลายเป็นถ่านชีวภาพในบางส่วน ในขณะที่เศษผ้า เส้นใยผ้า และกระดาษ ยังคงสภาพคล้ายเดิมอยู
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
50
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม