fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดซึ่งส่งผลต่อการลาออกขององค์กรญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล : งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดที่เกิดจากการบทบาทที่ขัดแย้งและบทบาทที่คลุมเครือกับความตั้งใจลาออกโดยมีความเหนื่อยหน่ายจากการทำงาน แรงสนับสนุนทางสังคม และแรงสนับสนุนจากหัวหน้า เป็นตัวแปรสื่อความสัมพันธ์ ตามทฤษฎีความเครียดของร็อบบิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือพนักงานคนไทยซึ่งทำงานในองค์กรญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม และประมวลผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สมการถดถอยพหุเชิงชั้น) ผลการวิจัยพบว่าความเครียดที่เกิดจากบทบาทที่ขัดแย้ง และบทบาทที่คลุมเครือมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจลาออก และยังพบว่าความเหนื่อยหน่ายจากการทำงาน, แรงสนับสนุนทางสังคม, แรงสนับสนุนจากหัวหน้าเป็นตัวแปรสื่อความสัมพันธ์ดังกล่าวโดยแรงสนับสนุนทางสังคม, แรงสนับสนุนจากหัวหน้าเป็นตัวแปรสื่อทางลบกล่าวคือทำให้ความเครียดลดลงและส่งให้ความตั้งใจลาออกลดลงด้วย ส่วนความเหนื่อยหน่ายจากการทางานเป็นตัวแปรสื่อทางบวกของความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทที่ขัดแย้งและคลุมเครือกับความตั้งใจลาออก กล่าวคือความเครียดที่เกิดจากบทบาทที่ขัดแย้ง, บทบาทที่คลุมเครือทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นและส่งผลทำให้ความตั้งใจจะลาออกเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จากผลการวิจัยนี้ องค์กร โดยเฉพาะหัวหน้างาน ควรตระหนักถึงความเครียดในบทบาทของพนักงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยการทำให้พนักงานในองค์กรปฏิบัติงานด้วยความพึงพอใจเช่น มีสวัสดิการ อัตราเงินเดือนดี หัวหน้างานต้องเปิดโอกาสให้ผู้บังคับบัญชาแสดงความเห็น เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อลดความเครียด ความเหนื่อยหน่ายจากการทำงาน และความตั้งใจลาออก
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
6
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม