fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปทำงานประเทศญี่ปุ่น : ความมุ่งหมายของการศึกษา คือ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของแรงงานไทยที่ย้ายถิ่นไปประเทศญี่ปุ่น และปัจจัยการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปญี่ปุ่น และเพื่อการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปทำงานประเทศญี่ปุ่น เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานไทยที่ทำงานในประเทศญี่ปุ่น จำนวน 375 คน วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ ทดสอบความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญน้อยที่สุด ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 26-35 ปี สถานภาพโสด จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ 1-3 คน ระดับการศึกษาปริญญาตรี สาเร็จการศึกษาจากประเทศไทย มีความรู้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น อาชีพวิศวกร ไม่มีประสบการณ์การไปทำงานต่างประเทศ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้ก่อนการเดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น 20,001-40,000 บาทมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเมื่อเดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น 45,001-60,000 บาท ส่วนใหญ่ไม่มีภาระหนี้สินก่อนการเดินทาง และไม่มีเครือญาติ/คนรู้จักในประเทศญี่ปุ่น ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน (เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์การไปทำงานต่างประเทศ รายได้ การมีเครือข่าย/คนรู้จักในต่างประเทศ) มีผลกับปัจจัยดึงดูดและปัจจัยผลักดัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P <0.05 ยกเว้นการมีภาระหนี้สิน ปัจจัยดึงดูดในการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ ด้านโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพสูง ด้านระดับค่าจ้างสูง ด้านการแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ด้านปัจจัยทางสังคมและการเมือง ด้านการขาดกำลังคน ด้านการมีเครือข่ายคนรู้จัก ตามลำดับ และปัจจัยผลักดันใ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
5 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250