fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การบริหารเวลาและความเครียดในการทำงานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา พนักงานขับรถส่งอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานคร : การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการบริหารเวลากับผลการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถส่งอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความเครียดกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถส่งอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากเป็นพนักงานขับรถส่งอาหารให้กับลูกค้า โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครในการศึกษาจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสหสัมพันธภาพเพียร์สัน (Pearson Correlation) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามโดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 20-24 ปี สถานภาพการสมรสเป็นโสด ระดับการศึกษาปวช./ มัธยมศึกษาตอนปลาย สภาพการจ้างงานเป็นพนักงานรายวัน มีประสบการณ์ในการทำงาน 1-2 ปี และมีรายได้ต่อเดือนระดับ 12,001-15,000 บาท 2) การบริหารเวลาในการทำงาน พบว่าพนักงานขับรถส่งอาหารได้ให้ความสำคัญในเรื่องของวางแผนและกำหนดเวลาในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการจัดเตรียมอุปกรณ์และพาหนะให้พร้อมต่อการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานสามารถดาเนินได้อย่างราบรื่นตามแผนที่ได้กำหนดไว้มากที่สุด ความเครียดในการทำงาน พบว่าพนักงานขับรถส่งอาหารได้ให้ความสำคัญในเรื่องของลักษณะของงานที่ต้องทำงานอย่างเร่งรีบเพื่อส่งอาหารให้ตรงเวลา และสภาพการจราจรที่ติดขัดในการเดินทางไปส่งอาหารให้กับลูกค้ามากที่สุด 3) การบริหารเวลาและความเครียดในการทำงานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานขับรถส่งอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับข้อสมมติฐานที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
4
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม