fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การศึกษาระดับทัศนคติและความคิดเห็นของพนักงานที่มีปัจจัยค้ำจุน บริษัทกรณีศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของโรงงานและลักษณะของปัญหา (2) เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็น ทัศนคติของพนักงานที่มีต่ออัตราค่าจ้างและสวัสดิการของบริษัทฯที่ทำการศึกษา (3) เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลจากพนักงานถึงผู้บริหาร เพื่อนำไปกำหนดนโยบายหรือแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป กลุ่มตัวอย่างพนักงานที่ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 150 คน สามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มพนักงานที่ยังทำงาน ณ ปัจจุบันจำนวน 100 คนและพนักงานที่ลาออก/กำลังดำเนินการยื่นใบลาออกจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth
Interview) และแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมคิมพิวเตอร์ SPSS เพื่อคำนวนหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างพนักงานที่ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 150 คน จำแนกเป็นเพศชายและเพศหญิงอย่างละประมาณครึ่งหนึ่ง อายุส่วนใหญ่เฉลี่ย 21-30 ปี สถานะโสด การศึกษาสูงสุดส่วนใหญ่จบมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนใหญ่ทำงานฝ่ายผลิตและส่วนใหญ่ทำงานมานานกว่า 1 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนสุทธิ (รวม OT และอื่น ๆ ) ประมาณ 5,000 - 10,000 บาท ผลของการวัดทัศนคติของพนักงานทั้ง 2 กลุ่ม ที่มีต่อปัจจัยค้ำจุน (Maintenance Factor) ทั้ง 9 ตามทฤษฏีสองปัจจัย (Two Factor Theory) พบว่ามีทัศนคติต่ออัตราค่าจ้างและสวัสดิการของบริษัทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในเรื่องปัจจัยค้ำจุนในด้านเงินเดือน (Salary) ปัจจัยค้ำจุนในด้านนโยบายและการบริหารงาน (Company Policy and Administration) ปัจจัยค้ำจุนในด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว (Personal Life) และปัจจัยค้ำจุนในด้านวิธีการปกครองบ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
92 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250