fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกิน : กรณีศึกษา บริษัท ผลิตรถยนต์ ABC : กรณีศึกษานี้ เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาสาเหตุการเกิดสินค้าคงคลังส่วนเกิน และหาแนวทางแก้ไขทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยทำการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำสาเหตุและการจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกินที่ได้จากการศึกษามาสร้างแบบสัมภาษณ์แล้วทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุการเกิดสินค้าคงคลังส่วนเกิน และวิธีการจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกินขององค์กรที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำเสนอวิธีการเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการในสภาวะการแข่งขันทางการตลาดที่สูงขึ้น ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และภาวะเศรษฐกิจถดถอย
จากการสัมภาษณ์ พบว่า การเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อจากลูกค้าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสินค้าคงคลังส่วนเกิน ประกอบกับไม่ได้กำหนดนโยบายในการจัดการที่ชัดเจน ขาดการติดต่อประสานงานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกต้อง ทำให้เกิดสินค้าคงคลังส่วนเกิน สาหรับการจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกิน พบว่าการขายเป็นวิธีการหลักในการลดสินค้าคงคลังส่วนเกินลงในระยะสั้น แต่เนื่องจากสินค้าคงคลังส่วนเกินมีมูลค่าสูงจึงทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานในการขออนุมัติเพื่อทำลาย ส่วนการจัดการระยะยาว ผู้วิจัยนำเสนอการใช้กระบวนการวางแผนการขายและปฏิบัติการ (Sales and Operations Planning, S&OP) เข้ามาจัดการทั้งระบบซึ่งมุ่งเน้นให้เกิดความสอดคล้องทั้งอุปสงค์และอุปทาน โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหาร หัวหน้างาน และระดับปฏิบัติการ เพื่อกำหนดเป้าหมายขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ซึ่งจะทำให้สินค้าคงคลังส่วนเกินไม่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน และจะค่อยๆลดลงในอนาคต
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
6 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250