fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การประยุกต์การบำรุงรักษาด้วยตนเองสำหรับแม่พิมพ์ผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน : สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประยุกต์การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) ซึ่งเป็นเสาหลักที่สำคัญของ TPM มาใช้กับแม่พิมพ์ในการผลิตชิ้นส่วนตู้เย็น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะทำการประยุกต์กับเครื่องจักรในสายการผลิต และเพื่อพิสูจน์ว่าการบำรุงรักษาด้วยตนเองนั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีเจ้าของเครื่องเป็นผู้ใช้และดูแลอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตตู้เย็นหรือค่าประสิทธิผลโดยรวม (OEE) ของแม่พิมพ์ให้สูงขึ้น รวมถึงพัฒนาความสามารถของพนักงานที่ดูแลเครื่องจักรและแม่พิมพ์ที่ใช้ในการผลิตให้มีความรู้และทักษะในการทำงานสูงขึ้น จากการศึกษาสามารถลดความสูญเสียในการผลิตที่เกิดจากปัญหาแม่พิมพ์ขัดข้องและ Breakdown ของหน่วยงาน Vacuum Forming ซึ่งเป็นกระบวนการตันน้ำ จนส่งผลทำให้ต้องหยุด Line ประกอบเท่ากับ 20.7 เปอร์เซ็นต์ หรือเฉลี่ยประมาณ 293.8 นาที่ต่อเดือน สามารถควบคุมและรักษาแผนการผลิตตู้เย็นให้ได้ตามเป้าหมาย โดยสามารถเพิ่มยอดการผลิตได้สูงขึ้น 12.6 เปอร์เซ็นต์ หรือ 18,800 ตู้ต่อเดือน ซึ่งส่งผลทำให้บริษัทมีรายได้จากการขายเพิ่มมากขึ้น 10.7 ล้านบาทต่อเดือน สามารถลดของเสียในกระบวนการผลิต Inner Box 48.8 เปอร์เซ็นต์ ที่เกิดจากแม่พิมพ์ในหน่วยงาน Vacuum Forming หรือ 2,626 Sets ต่อเดือน คิดเป็นมูลค่า 134,250 บาทต่อเดือน และค่าประสิทธิผลโดยรวม (OEE) ของแม่พิมพ์ ในหน่วยงาน Vacuum Forming สูงขึ้นกว่าในงวดวบประมาณแรกเท่ากับ 12.7 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉลี่ยเท่ากับ 82.3 เปอร์เซ็นต่อเดือน โดยจากการนำการบำรุงรักษาด้วยตัวเอง (AM) มาใช้กับการซ่อมและดูแลรักษาแม่พิมพ์ในหน่วยงาน Vacuum Forming
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
199 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม