fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การประยุกต์ Kraljic’s Portfolio Model เพื่อบริหารความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบ กรณีศึกษา โรงงานผลิตน้าผลไม้ : ผู้ส่งมอบแต่ละรายนั้นมีความสำคัญไม่เท่ากัน การบริหารความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบจึงแตกต่างกัน Karljic’s Portfolio Model เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาด้านความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบ โดยแบ่งกลุ่มวัตถุดิบที่ต้องการศึกษาเป็น 2 x 2 มิติ จากสภาพปัญหาแผนวัตถุดิบขาดความยืดหยุ่นในการตอบสนองแผนการขายของบริษัทกรณีศึกษา รวมถึงการศึกษาเครื่องมือ ผู้ศึกษาเห็นว่ามีความน่าสนใจที่จะนำมาปรับใช้โดยเลือกทดลอง และวัดผลจากกลุ่มวัตถุดิบตัวอย่างเพื่อเป็นกรณีนำร่อง วัตถุประสงค์การศึกษาคือนา Karljic’s Portfolio Model มาประยุกต์ใช้ในการบริหารความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน และประหยัดต้นทุนวัตถุดิบ จากการศึกษาพบว่า สามารถลดความยุ่งยากของขั้นตอนการสั่งซื้อได้ ในกลุ่ม Non-Critical สามารถเพิ่มอำนาจต่อรองและข้อได้เปรียบด้านราคาได้ ในกลุ่ม Leverage ส่วนกลุ่ม Bottleneck มีแนวโน้มที่จะลดการพึ่งพาผู้ส่งมอบได้บางส่วน และคาดว่าจะสามารถสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้ส่งมอบได้ ในกลุ่ม Strategic สรุปได้ว่าการนำ Kraljic’s Portfolio Model มาประยุกต์ใช้ เพื่อบริหารความสัมพันธ์กับผู้ส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานของฝ่ายจัดซื้อ และประหยัดต้นทุนในส่วนของการจัดหาวัตถุดิบได้ในระดับที่น่าพอใจ หากได้มีการต่อยอดไปใช้กับวัตถุดิบครบทุกรายการ คาดว่าจะประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
51 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม