fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการพลังงานยั่งยืนเพื่อเทคโนโลยีอาคาร : งานวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางการนำพลังงานรังสีอาทิตย์มาใช้เพื่อประหยัดพลังงานในห้องเรียนของ
อาคารเรียน โดยเบื้องต้นในงานวิจัยส่วนแรกได้มีการประเมินสภาวะน่าสบายของห้องเรียนปรับอากาศ ณ อาคาร C
ผู้วิจัยได้มีการพัฒนาชุดโครงข่ายเซนเซอร์แบบไร้สายที่สามารถวัดค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญต่อการคำนวณค่า PMV และ
PPD ซึ่งจะแสดงถึงสภาวะน่าสบาย (Thermo comfort) ของห้องเรียน และมีการนำชุดเซนเซอร์ดังกล่าวมาใช้วัดค่า
ในห้องเรียนในขณะที่มีการเรียนการสอนจริง พร้อมทั้งใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนในห้องปรับอากาศ
เพื่อนาผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับค่าประเมินสภาวะน่าสบายที่ได้จากสมการในมาตรฐาน ASHRAE และได้ผลที่
สอดคล้องกัน นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้นำผลการวัดค่าและผลการคำนวณ PMV จากมาตรฐาน ASHRAE มาพัฒนา
แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมแบบ ANN และ NARX เพื่อทำนายค่า PMV ด้วย และพบว่าผลการคำนวณจาก
แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมให้ผลแม่นยำในระดับที่ยอมรับได้
นอกจากงานภาคทฤษฎีแล้ว สำหรับภาคปฏิบัติก็ได้มีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการลดการใช้พลังงาน
โดยในอนาคต โดยใช้สภาวะน่าสบาย (Thermal comfort) ที่ระบุโดยดัชนีจากมาตรฐาน ASHRAE ซึ่งเครื่องมือที่
พัฒนาขึ้นเรียกว่า Thermal comfort calculator ที่สามารถคำนวณค่า PMV และ PPD ได้โดยไม่ต้องพี่งพาระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือทำงานได้แบบ Stand alone โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller) ร่วมกับ
คอมพิวเตอร์จิ๋วแบบราสเบอร์รี่ไพ (Raspberry Pi)
งานวิจัยส่วนที่สองได้มีการนำชุดเซนเซอร์ที่พัฒนาขึ้นแบบไร้สาย ที่สามารถติดตั้งได้หลายจุดมาใช้เพื่อ
ตรวจสอบค่าสภาวะอากาศแบบเรียลไทม์ ในขณะที่มีการทดสอบระบบปรับอากาศที่ใช้คอมเพรสเซอร์กระแสตรง ที่
ติดตั้ง ณ หน่
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
92 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250