fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัย การบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นส่งผลต่อการบริหารคุณภาพ และ ความพึงพอใจของลูกค้า กรณีศึกษาองค์กรแห่งความเป็นเลิศ : การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นส่งผลต่อการ บริหารคุณภาพ และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของพนักงานและลูกค้าในการบริหารคุณภาพ ขอเก็บข้อมูลกับบุคลากรจากองค์กรที่ได้รับรางวัล Thailand Lean Award จำนวน 370 คน และ ลูกค้า จำนวน 62 องค์กร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อย ละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถ่อยแบบพหุ ผลจากการศึกษาพบว่าตัวแปร 5S(X1), JIT(X4) and TPM(X6) ส่งผลกับการบริหารคุณภาพ ด้านคุณภาพมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 68 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ Y1 = 1.181 + 0.327(X1) + 0.239(X4) + 0.187(X6) และตัวแปร 5S (X1), KAIZEN (X5), JIT (X4) and TPM (X6) ส่งผลกับการ บริหารคุณภาพด้านการลดต้นทุน มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ75 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ Y2 = 0.650 + 0.369(X1) + 0.175(X5) + 0.198(X4) + 0.129(X6) ส่ว น ตัว แ ป ร 5S (X1), JIT (X4) and KAIZEN (X5)ส่งผลกับการบริหารคุณภาพด้านการส่งมอบสินค้าตรงตามเวลามีอำนาจพยากรณ์ร้อย ละ 56 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ Y3 = 1.567 + 0.314(X1) + 0.219(X4) + 0.179(X5) และตัวแปร TPM (X6), 5S (X1) and JIT (X4) ส่งผลกับการบริหารคุณภาพด้านบริการ มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 60 เขียนสมการพยากร์ Y4 = 1.181 + 0.327(X6) + 0.239(X1) + 0.187(X4) ผลการเปรียบเทียบความมพึงพอใจระหว่างพนักงานกับลูกค้าในเรื่องการบริหารคุณภาพ พบว่า ลูกค้ามีความพึงพอใจมากกว่าพนักงานในองค์กรในทางบวก โดยด้านคุณภาพลูกค้ามีความ พึงพอใจสูงกว่าพนักงานร้อยละ 10.55 การบริหารคุณภาพด้านการบริการ ลูกค้ามีระดับความพึง พอใจสูงกว่าพนักงานร้อยละ 6.50 การบริหารคุณภาพด้านการส่งมอบ ลูกค้ามีระดับความพึงพอใจ สูงกว่าพนักงานร้อยละ 5.69 และกา
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
104
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม