fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
รายงานวิจัย การศึกษาการจัดการการเงินภายใต้เศรษฐกิจพอเพียงของสหกรณ์ออมทรัพย์ : กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา : การวิจัยเรื่อง การศึกษาการจัดการการเงินภายใต้เศรษฐกิจพอเพียงของสหกรณ์ออมทรัพย์ กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบ โครงสร้าง การจัดการการเงินชุมชนภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาศักยภาพการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจชุมชน และ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มประชากรเป้าหมายประกอบด้วยกลุ่มการจัดการการเงินของวิสาหกิจชุมขน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 15 อำเภอ ประกอบด้วยสหกรณ์ออมทรัพย์ 12 แห่ง กลุ่มตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพคือสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีแหล่งที่ตั้งศูนย์กลาง รอบในและรอบนอก ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูพระนครศรีอยุธยา จำกัด(ศูนย์กลาง) สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานบริษัทแคนนอน(ประเทศไทย) จำกัด (รอบใน) และ สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานบริษัทเอ็ม.พี.ที จำกัด (รอบนอก ) กรอบแนวคิดคือการบริหารจัดการด้านการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพและยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะส่งผลให้สมาชิกมีการทางานร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผลการวิจัยพบว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ทุกแห่งมีกระบวนการบริหารจัดการที่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ของการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์ ปี 2542 และยึดหลักการบริหารจัดการการเงินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านศักยภาพในการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าปี 2557 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่าปี 2557 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 เช่นเดียวกัน ข้อเสนอแนะควรทำการวิจัยเกี่ยวกับการสร้างฐานองค์ความรู้เพื่อให้สมาชิกของแต่ละกลุ่มได้แสดงความเห็นร่วมกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
72 |
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250