fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบมิติทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-ญี่ปุ่น กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย : การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของมิติทางวัฒนธรรมระหว่างคนไทยและคนญี่ปุ่นที่ทำงานอยู่ในบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย รวม 60 คน แบ่งเป็นคนไทย 30 คน และญี่ปุ่น 30 คน โดยจะกระจายกลุ่มสำรวจไปในหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหรรมการเงินการธนาคาร อุตสาหกรรมการขนส่ง อุตสาหกรรมพาณิชย์ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ฯลฯ รวมทั้งสิ้น 20 บริษัท กำหนดให้ตัวแปรอิสระได้แก่ เชื้อชาติของพนักงานบริษัทญี่ปุ่น ได้แก่ คนไทย และคนญี่ปุ่น และตัวแปรตาม ได้แก่ มิติวัฒนธรรมของฮอฟสตีด 5 ด้านคือ ด้านความเหลื่อมล้าทางอำนาจ ด้านความเป็นปัจเจกนิยม ด้านลักษณะความเป็นเพศชาย ด้านการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน และด้านการมุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาว ผลการวิจัยพบว่าวัฒนธรรมการทำงานของคนไทย และคนญี่ปุ่นมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องการให้ความสำคัญด้านเวลา การทำงานหนัก ความจริงจังในการทำงาน การเคารพระเบียบวินัย และการจำกัดความของคำว่า “คุณภาพ” ระดับคุณภาพที่คนญี่ปุ่นมองและคาดไว้นั้นสูงกว่าระดับคุณภาพที่คนไทยมอง ซึ่งมุมมองด้านคุณภาพที่แตกต่างนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งในการทำงานขึ้นได้ แม้จะไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการทะเลาะกันในการทำงานก็ตาม ซึ่งแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการทำงานร่วมกันอาจทำได้หลายหลายวิธี อาทิ ส่งเสริมการพัฒนาด้านภาษาทั้งการพูด และการเขียนจะช่วยให้สื่อสารเข้าใจกันดีขึ้น ในด้านการปรับตัว คนไทยกลับไม่ค่อยได้มีการพร้อมในการทำงานกับคนญี่ปุ่น คนไทยเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน ต่างกับคนญี่ปุ่นที่มีทั้งการพูดคุย เรียนรู้ จากการอบรม จากการอ่าน และจากการคุยกับคนญี่ปุ่นที่เคยทำงานแล้วในเมืองไทย ดังนั้นคนไทยควรควรศึกษาเพ
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
43
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม