fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
รายงานโครงการวิจัยการประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบ Monodzukuri กับอุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อการส่งออก (กรณีศึกษา : บริษัท วี.ที.การ์เม้นท์ จำกัด) หัวข้อวิจัยเรื่อง การลดของเสียในกระบวนการผลิตของแผนกตกแต่งและพิมพ์ : รายงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำหลักการของระบบการผลิตแบบ Monodzukuri ไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้า เพื่อศึกษาหาวิธีการลดความสูญสียและความสูญเหล่าของกระบวนการผลิตสินค้า Quenchua ของแผนกตกแต่งและพิมพ์ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้นำหลักการการศึกษาการทำงานมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการศึกษาพบว่า กระบวนการผลิตสินค้า Quenchua ที่แผนกตกแต่งและพิมพ์ ปัจจุบันมีความสามารถผลิตชิ้นงานได้โดยเฉลี่ยเท่ากับ 470 ชิ้นต่อสัปดาห์ และมีจำนวนสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพจากอาหารสีเดือดจำนวน 146 ชิ้นต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละและของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 31 สาเหตุเกิดจากการเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักของอุปกรณ์เครื่องไดร์อบแห้งเป็นต้นเหตุที่ทำให้ของเสียเกิดขึ้นในกระบวนการพลาสติก จากการวิจัยได้นำอุปกรณ์ช่วยในการทำงานก็คือ สปริงบาลานเซอร์ติดที่บริเวณปฏิบัติงานเพื่อลดอาการเมื่อล้าของพนักงานและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน จากการทดสอบหลังจากการติดตั้งอุปกรณ์สปริงบาลานเซอร์พบว่าจากการเก็บข้อมูลผลผลิตในหนึ่งสัปดาห์ในการปฏิบัติงาน 560 ชิ้นต่อสัปดาห์มีของเสียเกิดขึ้น 48 ชิ้นต่อสัปดาห์ คิดเป็นอัตราของเสียร้อยละ 8.5 เมื่อเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนการลดของเสียก่อนปรับปรุงและเทียบกับหลังปรับปรุงคิดเป็นร้อยละ 67 จากการวิจัยดังกล่าวจะส่งผลให้กระบวนการผลิตชิ้นงานเพิ่มขึ้น 90 ชิ้นต่อสัปดาห์คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 16
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
46 |
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250