fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นปรารถนาอย่างแรงกล้าในงานของพนักงาน กรณีศึกษา องค์กรญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง : การศึกษาครัง้ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะส่วน บุคคลที่มีต่อความพึงพอใจในงาน 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะส่วนบุคคลที่มีต่อ ความมุ่งมัน่ ปรารถนาอย่างแรงกล้าในงานของพนักงาน 3) ศึกษาความพึงพอใจในงานที่ส่งผล ต่อความมุ่งมัน่ ปรารถนาอย่างแรงกล้าในงานของพนักงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครัง้ นี้ คือ พนักงานในองค์กรญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง มีจำนวนทั้งสิ้น 180 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบความแตกต่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง (Independent Sample T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance : ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Linear Regression) ผลการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า 1) ลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ อายุงาน รายได้ และ ตำแหน่งงานมีผลต่อความพึงพอใจในงานแตกต่างกัน 2) ลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ อายุงาน รายได้ และตำแหน่งงานมีผลต่อความมุ่งมัน่ ปรารถนาอย่างแรงกล้าในงานของพนักงานแตกต่างกัน และยังพบว่า 3) ตัวแปรความพึงพอใจในงานด้านลักษณะงาน ด้านค่าตอบแทนและ สวัสดิการ และด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานส่งผลต่อความมุ่งมัน่ ปรารถนาอย่างแรงกล้า ในงานของพนักงาน มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเชิงพหุของตัวแปร (B) = 0.358, 0.348 และ 0.181 ตามลำดับ และมีค่าคงที่ของสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบ (a) = 0.935 โดยนำมา สร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ Y = 0.935 + 0.310(X1) + 0.258 (X5) + 0.174 (X3) โดยตัวแปร ทัง้ หมดร่วมกันพยากรณ์ความมุ่งมัน่ ปรารถนาอย่างแรงกล้าในงานของพนักงานได้ร้อยละ 50.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
104
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม