fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การกระจายของความเค้นที่เป็นผลจากความแตกต่างของลักษณะทางสัณฐานวิทยาของรอยโรคที่ไม่ได้เกิดจากฟันผุกรามน้อยด้านบนซี่ที่หนึ่งด้วยระเบียบวิธีทางไฟไนต์เอลิเมนต์ : การบดเคี้ยวทำให้เกิดแรงเชิงกลและความเค้นในโครงสร้างฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการสึกหรอที่ไม่ได้เกิดจากฟันผุบริเวณคอฟัน ปัจจุบันพบบ่อยถึง 38.7 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่มักเกิดที่ฟันกรามน้อย (First premolars) ที่พบบ่อยที่สุด 2 แบบแรก ได้แก่ การสึกหรอรูปไข่ตามแนวขวาง (Horizontal oval - Round) และการสึกหรอรูปลิ่มตามขวาง (Horizontal oval - Wedge) ทางทันตกรรมสนใจเรื่องวิธีการอุดฟันที่จะช่วยให้วัสดุอุดมีความทนทาน งานวิจัยนี้จึงสร้างแบบจำลองสามมิติที่ประกอบด้วยโครงสร้างของฟันทั้ง 7 ส่วนและมีขนาดจริงของฟันกรามน้อยด้านบนซี่ที่หนึ่งจากภาพถ่าย CBCT และทำการวิเคราะห์การกระจายของความเค้นที่เป็นผลจากความแตกต่างของลักษณะทางสัณฐานวิทยาของรอยโรคที่ไม่ได้เกิดจากฟันผุด้วยระเบียบวิธีทางไฟไนต์เอลิเมนต์ และใช้แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นศึกษาการกระจายความเค้นในฟันที่ได้รับการอุดแบบต่างๆ ผลการวิเคราะห์พบว่าก่อนการอุด จะเกิดความเค้นหลักสูงสุดในการสึกหรอรูปลิ่มตามขวาง ตามด้วยการสึกหรอรูปไข่ตามแนวขวาง ซึ่งมากกว่าความเค้นหลักสูงสุดในฟันปกติเป็น 231 เปอร์เซ็นต์ และ 169 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ หลังจากทำการอุดรอยสึกแล้วจะเกิดความเค้นหลักสูงสุด น้อยที่สุดในการสึกหรอรูปไข่ตามแนวขวางที่ถูกอุดเป็นชิ้นเดียวด้วยวัสดุอ่อน โดยสามารถกระจายความเค้นได้ดีกว่าลักษณะการอุดแบบอื่นๆ ซึ่งแสดงนัยได้ว่า การอุดแบบชิ้นเดียวด้วยวัสดุอ่อนเป็นการอุดที่สามารถทนต่อการบดเคี้ยวและจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบบอื่นๆ นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงด้วยว่า แม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยการอุดที่สมบูรณ์แล้วแต่ฟันที่เคยสึกหรอจะไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม อย่างไรก็ตามเมื่อพบการสึกหรอทุกรูปแบบควรทาการรักษาทันทีด้วยการอุดแบบชิ้นเดียวด้วยวัสดุอ่อน
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
77 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250