fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัท A : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีความ
สัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ที่
แตกต่างกันมีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 คน ใช้
แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ความแปรปรวน
ทางเดียว และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-35 ปี มีการศึกษาระดับ
ต่ำกว่าปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท และมีประสบการณ์ในการทำงาน
กับองค์กร 1-2 ปี
ผลการวิจัยระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มี
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในด้านความต้องการความสำเร็จ ( X =3.45) และด้านความต้องการ
ความผูกพัน ( X =3.78) อยู่ในระดับสูง ส่วนด้านความต้องการอำนาจ ( X =3.40) อยู่ในระดับ
ปานกลาง
ผลการวิจัยระดับความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มี
ความจงรักภักดีต่อองค์กรในด้านพฤติกรรมที่แสดงออก ( X =3.81), ด้านความรู้สึก ( X =3.56)
และด้านการรับรู้ ( X =3.52) อยู่ในระดับสูงทุกด้าน
ผลการวิจัยปัจจัยแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดี พบว่า ปัจจัยแรงจูงใจ
ด้านความต้องการความสำเร็จ (r=0.698), ปัจจัยแรงจูงใจด้านความต้องการความผูกพัน
(r=0.740), และปัจจัยแรงจูงใจด้านความต้องการอำนาจ (r=0.775) มีความสัมพันธ์กับความจงรัก
ภักดีสูงในทุกด้าน
นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ (เพศ, ระดับการศึกษา, รายได้
เฉลี่ยต่
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
81 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250