fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสมดุลชีวิตและงานของพนักงานที่ทำงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่
ส่งผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน และ 2) ศึกษาปัจจัยการสนับสนุนขององค์การ ด้าน
องค์การ ด้านหัวหน้างาน และด้านเพื่อนร่วมงาน ที่ส่งผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ พนักงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคม
อุตสาหกรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ
สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบความแตกต่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง
(Independent Sample T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of
Variance : ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple Linear Regression)
ผลการเปรียบเทียบพบว่า เพศ รายได้ ส่งผลต่อความสมดุลชีวิตและงานแตกต่างกัน
อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบว่า อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา
ตำแหน่งงาน อายุงาน ช่วงเวลาปฏิบัติงาน และชั่วโมงการทำงานส่งผลต่อความสมดุลชีวิตและงาน
ไม่แตกต่างกัน
และพบว่าปัจจัยการสนับสนุนขององค์การ ด้านองค์การ ด้านหัวหน้างาน และด้านเพื่อน
ร่วมงานส่งผลต่อความสมดุลชีวิตและงาน มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเชิงพหุของตัวแปร (β) =
0.332 (ด้านองค์การ), 0.284 (ด้านหัวหน้างาน) และ 0.227 (ด้านเพื่อนร่วมงาน) และค่าคงที่
ของสมการในรูปคะแนนดิบ (a) = 1.241 โดยนำมาสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ Y = 1.241 +
0.281 (X1) + 0.211 (X3) + 0.147 (X2) ทัง้ นี้ตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันพยากรณ์ความ
สมดุลชีวิตและงานของพนักงานได้ร้อยละ 49.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
97 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250