fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ ห้องปฏิบัติการวิจัยปัญญาประดิษฐ์และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, AI-IoT® : การพัฒนาระบบควบคุมสภาพแวดล้อมให้เกิดเป็นฟาร์มนกแอ่นกินรังแม่นยำสูง (Precision Edible–nest Swiftlet Farming) ซึ่งสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยในแง่ของการช่วยลดค่าใช่จ่ายในฟาร์มและเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตทางการเกษตร งานวิจัยนี้ได้เสนอการออกแบบระบบควบคุมสภาพแวดล้อมของฟาร์มนกแอ่นกินรังแม่นยำสูงด้วยการใช้เซ็นเซอร์ตรวจสภาพอุณหภูมิ และความชื้น เพื่อคำนวณหาค่าความชื้นสัมพัทธ์ ค่าความชื้นสัมบูรณ์และจุดไอน้ากลั่นตัว ภายในฟาร์มที่เหมาะสมสาหรับการทำรังวางไข่ของนกแอ่นกินรัง ซึ่งอุปกรณ์ทำความชื้น และพัดลมระบายอากาศ จะทำงานแบบปรับเปลี่ยนอัตโนมัติตามการประมวลผลของเครื่องแม่ข่ายภายใต้กระบวนการทำงานของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสำหรับทุกสรรพสิ่ง ปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่อง และการเรียนรู้เชิงลึก ที่เกษตรกรสามารถบริการจัดการผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน อย่างไรก็ดี ผลการทดลองกับฟาร์มตัวอย่างส่งผลทำให้จำนวนรังนกเพิ่มได้ถึง 10 เท่าในระยะเวลา 6 เดือน และมีอัตราการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยทางผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยสำหรับฟาร์มอัจฉริยะ (กรณีศึกษา ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมในฟาร์มนกแอ่นกินรัง) ด้วยการทดลองการออกแบบและทดลองกับอาคารภายในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้จริงในฟาร์มนกแอ่นกินรังของศูนย์การเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำฟาร์มนกแอ่นกินรัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
30
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม