fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียม เพื่อตรวจจับความเสียหายของแบริ่งแบบลูกกลิ้ง : การศึกษานี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวการตรวจสอบสภาวะความเสียหายของแบริ่งแบบลูกกลิ้งเม็ดกลมจากสัญญาณการสั่นสะเทือนด้วยเทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม (ANN) ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน (SVM) และเคเนียร์เรสเนเบอร์ (KNN) โดยทำการจำลองแบริ่ง 2 เบอร์ คือ แบริ่งเบอร์ 6006Z และเบอร์ 6001Z ที่สภาวะการทำงานต่าง ๆ ดังนี้ สภาวะการทำงานปกติ สภาวะความเสียหายที่รางนอก รางใน และสภาวะความเสียหายที่เกิดจากจาระบีผสมกากเพชรเกรด 100, 280 และ 400 ตามลำดับ สัญญาณการสั่นสะเทือนในขณะที่ชุดทดสอบทำงานที่ 1200 rpm จะถูกบันทึกด้วยหัววัดการสั่นสะเทือน และนำไปใช้วิเคราะห์สัญญาณบนโดเมนเวลาและโดเมนความถี่ ผลการทดลอง พบว่า การนำพารามิเตอร์ทางสถิติและค่ากำลังของช่วงความถี่ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของแบริ่งมาใช้ทำนายสภาวะความเสียหายร่วมกัน สามารถแยกสภาวะการทำงานของแบริ่งได้ดีกว่าการใช้พารามิเตอร์ทางสถิติ หรือค่ากำลังของช่วงความถี่เพียงอย่างเดียว การเลือกพารามิเตอร์ที่ใช้เป็นข้อมูลอินพุต และสัดส่วนของข้อมูลอินพุตให้เหมาะสมกับข้อมูลแบริ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลถึงความสามารถในการจำแนกสภาวะความเสียหายของแบริ่งด้วย ผลการทดลองได้วิเคราะห์พารามิเตอร์จากสัญญาณการสั่นสะเทือน คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่ากำลังของช่วงความถี่รางนอก และค่ากำลังของช่วงความถี่รางใน เพื่อใช้เป็นข้อมูลอินพุตสำหรับเปรียบเทียบผลการทำนายด้วยวิธี ANN, SVM และ KNN สัดส่วนของข้อมูลที่ใช้คือ 20 (70-30) หมายถึง ข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ 50% การยืนยันความถูกต้อง 20% และการทดสอบ 30% ผลการเปรียบเทียบการทำนายทั้ง 3 วิธี พบว่า การทำนายความเสียหายของแบริ่ง 6006Z และ 6001Z ด้วยวิธี ANN จะให้ผลการทำนายสูงกว่าวิธีอื่น ๆ โดยเลือกใช้ ANN แบบ Feedforward ne
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
104 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม