fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
รายงานการวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับความตั้งใจลาออกของวิศวกรไทยในบริษัทญี่ปุ่น : งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันองค์การ และความตั้งใจลาออกของวิศวกร โดยมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ เป็นตัวสื่อความสัมพันธ์ (mediator) และศึกษาเปรียบเทียบระดับการรับรู้ของตัวแปรดังกล่าวแยกตามกลุ่มอายุ ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวิศวกรซึ่งมีสถานะเป็นพนักงานประจำในบริษัทร่วมทุ่นไทย-ญี่ปุ่น ทั่วประเทศ ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกซึ่งกันและกัน และตัวแปรทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจลาออก สอดคล้องตามโมเดลกระบวนการตัดสินใจลาออก ของ Hom & Griffeth, (1995) ที่ใช้ในการวิจัย และเมื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันองค์การและความตั้งใจลาออกของวิศวกรแยกตามกลุ่มอายุ พบว่า ความพึงพอใจในการทำงานของวิศวกรไม่แตกต่างกัน แต่มีความผูกพันองค์การและความตั้งใจลาออกแตกต่างกัน สำหรับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่วิศวกรรับรู้นั้นประกอบด้วย การช่วยเหลือผู้อื่น การมีจิตสานึก และให้ความร่วมมือ ในบรรดาพฤติกรรมทั้ง สามด้านนี้ พฤติกรรมด้านการช่วยเหลือผู้อื่น และด้านการมีจิตสานึกเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการทำงาน และความผูกพันองค์การ แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจลาออก และยังเป็นตัวแปรสื่อบางส่วน ของความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันองค์การ และความตั้งใจลาออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยนำไปใช้เป็นแนวทางในการรักษาบุคลากรไว้กับองค์กร ด้วยการเสริมสร้างความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันองค์การและปลูกฝังพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การให้กับวิศวกรไทยซึ่งเป็นกลุ่มพนักงานที่มีการลาอ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
115 |
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250