fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
เปรียบเทียบประเภทธุรกิจส่งผลต่อความพึงพอใจด้านสมรรถนะของล่ามไทย-ญี่ปุ่นและด้านทักษะของล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอนาคตผ่านมุมมองของนายจ้างชาวญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบประเภทธุรกิจส่งผลต่อความพึงพอใจ ด้านสมรรถนะของล่ามไทย-ญี่ปุ่น 2) เปรียบเทียบประเภทธุรกิจส่งผลต่อทักษะที่จำเป็นสำหรับ การทำงานของล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอนาคต ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นายจ้างชาวญี่ปุ่น ในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จำนวน 119 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และสถิติไคสแควร์ (Chi-square) ผลการทดสอบพบว่า ประเภทธุรกิจยานยนต์ส่งผลต่อความพึงพอใจด้านสมรรถนะที่ จำเป็นของล่ามไทย-ญี่ปุ่นแตกต่างจากประเภทธุรกิจการผลิตหนัก (วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร/ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์/เหล็ก, โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก) และประเภทธุรกิจการผลิตเบา (บรรจุภัณฑ์/ ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์/กระดาษและวัสดุการพิมพ์/ขนส่ง & โลจิสติกส์) ในด้านความเชี่ยวชาญ ด้านระบบการผลิตที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และด้านความเชี่ยวชาญด้านระบบคุณภาพที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และยังพบว่าประเภทธุรกิจยานยนต์ ประเภทธุรกิจการผลิตหนัก (วัสดุอุตสาหกรรมและ เครื่องจักร/ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์/เหล็ก, โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก) ประเภทธุรกิจการผลิตเบา (บรรจุภัณฑ์/ ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์/กระดาษและวัสดุการพิมพ์/ขนส่ง & โลจิสติกส์) ส่งผลต่อทักษะที่จำเป็นของ ล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอนาคตด้านทักษะความฉลาดในการเข้าสังคมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าประเภทธุรกิจยานยนต์ ประเภทธุรกิจการผลิตหนัก (วัสดุอุตสาหกรรม และเครื่องจักร/ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์/เหล็ก, โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก) ประเภทธุรกิจการผลิตเบา (บรรจุภัณฑ์/ ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์/กระดาษและวัสดุการพิมพ์/ขนส่ง & โลจิสติกส์) ส่งผลต่อทักษะที่จำเป็นของ ล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอนาคตด้านทักษะการคิดประย
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
141
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม