fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การสร้างแบบจำลองไม่ต่อเนื่องเพื่อเพิ่มผลิตภาพ กรณีศึกษา สายการผลิตซอสปรุงรส : การออกแบบและพัฒนาระบบงานใช้แบบจำลองเป็นเครื่องมือวิเคราะห์เหตุการณ์ ก่อนที่ จะนำไปใช้กับระบบงานจริง เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยงานวิจัยนี้เลือก ใช้ซอฟต์แวร์ Arena Simulation เป็นเครื่องมือในการสร้างแบบจำลอง นำข้อมูลที่ได้จากการแจกแจงมาสร้างแบบจำลอง โดยแบบจำลองได้ถูกทวนสอบความเป็น ตัวแทนของระบบงานจริง โดยใช้วิธีทดสอบ Comparison with an Existing System เทียบผลลัพธ์ ระหว่างแบบจำลองกับระบบงานจริง พบว่าไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ค่า P-Value = 0.958 ไม่สามารถปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 และทดสอบความเป็นตัวแทนของแบบจำลอง โดยใช้วิธีทดสอบ Parameter Variability-Sensitivity Test เพื่อทดสอบความไวต่อการตอบสนองค่า ความแปรปรวน ทุกเงื่อนไขมีค่า R-squared มากกว่าร้อยละ 80 ส่งผลให้แบบจำลองเป็นตัวแทนของ ระบบการผลิตจริงได้ นำผลรอบเวลาการผลิตต่อชิ้นงานจากแบบจำลองมาจัดสมดุลการผลิต เลือกตัวแปรที่มีค่า รอบเวลา สูงกว่าค่า Takt Time นำมาจัดสมดุลสายการผลิตใหม่ผ่านซอฟต์แวร์ ARENA ใช้วิธี Trial and Error หลังจากจัดสมดุลสายการผลิตใหม่พบว่า ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.5 ลดลงจาก 11 สถานีงาน คงเหลือ 6 สถานีงาน คิดเป็นร้อยละ 54.55 จำนวนพนักงาน ลดลงจาก 18 คน คงเหลือ 16 คน คิดเป็น ร้อยละ 11.1 เวลานำการผลิตลดลง จาก 42.19 วัน คงเหลือ 28.48 วัน คิดเป็นร้อยละ 32.5 ประสิทธิผล โดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 88 เป็นร้อยละ 97 คิดเป็นร้อยละ 9 ประสิทธิภาพ สายการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 68.84 เป็น 80.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 426.69 แกลลอน ต่อวัน เป็น 638.23 แกลลอนต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 49.6 ซึ่งเป็นการตอบวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
108
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม