fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานแบ่งตามคุณลักษณะของบุคคล กรณีศึกษา บริษัทแมทธีเรียลออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด : การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของพนักงานตามทัศนะของ
แม็กเกรเกอร์(Douglas McGregor’s Theory X and Theory Y) ที่กล่าวไว้ในทฤษฎีX และ
ทฤษฎีY กรณีศึกษา บริษัทแมทธีเรียล ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำนวน 150 คน โดยแบ่ง
พนักงานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พนักงานกลุ่ม Y และพนักงานกลุ่ม X ด้วยแบบทดสอบของ Alan
Chapman, (2001-2008) ผลของการทดสอบด้วยเครื่องมือดังกล่าวพบว่าพนักงานที่จัดอยู่ใน
กลุ่ม Y จำนวน 142 คน พนักงานกลุ่ม X จำนวน 8 คน จากนั้นจึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง
ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยสุขอนามัย ส่งผลต่อความจงรักภักดีเฉพาะพนักงานในกลุ่ม Y ที่มีต่อองค์กร
ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัย
จูงใจ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านความสำเร็จ ด้านการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ด้านลักษณะงาน
ด้านความรับผิดชอบ และด้านความก้าวหน้า ส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานกลุ่ม Y ใน
ทำนองเดียวกัน ปัจจัยสุขอนามัย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านนโยบายการบริหาร ด้านการบังคับ
บัญชา ด้านสภาพการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านเงินเดือนและความมั่นคง
ส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานกลุ่ม Y เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์กลุ่ม
ตัวอย่าง จำนวน 150 คน (พนักงานกลุ่ม Y และกลุ่ม X) ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
(Pearson’s Correlation Coefficient) พบว่าอายุของพนักงานมีความสัมพันธ์ต่อความจงรักภักดี
ในขณะที่ระยะเวลาในการปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์ต่อความจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อ
องค์กร เป็นที่น่าแปลกใจที่ระดับการศึกษาของพนักงานกลับมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดี
ของพนักงานในทิศทางตรงกันข้าม
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
126 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250