fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
อิทธิพลของไคเซ็นความปลอดภัยและการตระหนักความปลอดภัยที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมอลูมิเนียมแห่งหนึ่ง : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบถึงระดับความคิดเห็นของไคเซ็นความปลอดภัย วัฒนธรรมความปลอดภัย ความตระหนักความปลอดภัย และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของไคเซ็นความปลอดภัยและการตระหนักความปลอดภัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับพนักงานที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ของโรงงานอุตสาหกรรมอลูมิเนียมแห่งหนึ่ง จำนวน 500 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างด้วย Smart PLS 4.0 ผลการศึกษาพบว่า ทำให้ทราบถึงระดับความคิดเห็นของไคเซ็นความปลอดภัย โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 วัฒนธรรมความปลอดภัย ด้านการรับรู้ (Perception) โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 ด้านพฤติกรรม (Behavior) โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 ด้านจิตวิทยาภายในองค์กร (Psychology) โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ความตระหนักความปลอดภัย โดยรวมอยู่ในระดับตระหนักรู้มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน โดยรวมอยู่ในระดับประจำ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 และพบว่า ไคเซ็นความปลอดภัยและการตระหนักความปลอดภัย และวัฒนธรรมความปลอดภัยมีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ปัจจัยด้านไคเซ็นความปลอดภัย (Safety Kaizen) มีอิทธิพลเชิงบวกต่อปัจจัยด้านวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture) ปัจจัยด้านความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัย (Safety Awareness) มีอิทธิพลเชิงบวกต่อปัจจัยด้านวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture) ปัจจัยด้านวัฒ
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
189
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม