fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจการเพิ่มคุณค่าสินค้าของขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติก (พอลิโพรพิลีน : PP) เพื่อนำกลับมาใช้ให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน : จากการศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนทำธุรกิจการเพิ่มคุณค่าสินค้าของขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติก (พอลิโพรพิลีน : PP) เพื่อนำกลับมาใช้ให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนนั้นพบว่า ธุรกิจพอลิโพรพิลีน รีไซเคิลได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมพลาสติก การศึกษานี้ครอบคลุมถึงที่มาและความสำคัญ, เทคโนโลยีการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล, แผนการตลาดและการเงิน, โอกาส, ความท้าทาย และความเสี่ยงของธุรกิจการเพิ่มคุณค่าสินค้าของขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติก (พอลิโพรพิลีน : PP) ด้วยกระบวนการรีไซเคิลทางกลเท่านั้น ในอุตสาหกรรมกลุ่มต่างๆ มีการนำพลาสติกพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลมาใช้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีคุณภาพในการใช้งาน ที่ใกล้เคียงกับพอลีโพรพีลีนบริสุทธิ์ (Virgin) โดยมีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้ ก็ยังมีความเสี่ยงและความท้าทายอยู่สูงในเรื่องของการรักษาคุณภาพของวัตถุดิบขยะให้สม่ำเสมอ การจัดการความเสี่ยงในการปนเปื้อน และมีข้อจำกัดทางเทคโนโลยีในกระบวนการรีไซเคิล รวมถึงราคาต้นทุนที่สูงที่ใช้ในการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของตลาดนี้ จากการศึกษาธุรกิจการเพิ่มคุณค่าสินค้าของขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติก (พอลิโพรพิลีน : PP) เพื่อนำกลับมาใช้ให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนคาดว่าต้องใช้งบลงทุนในปีที่ 0 มูลค่า 300 ล้านบาท และมีเงินทุนหมุนเวียนต่อปีอยู่ที่ 10 ล้านบาท โดยอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อปีอยู่ที่ประมาณ 22% มูลค่าปัจจุบันสุทธิของกิจการ (Net Present Value : NPV) กรณีสถานการณ์ปกติ (Base Case) 10 ปี เท่ากับ 1,080.6 ล้านบาท เมื่อมีต้นทุนทางการเงินอยู่ที่ 10% อัตราภายในโครงการ (IRR) มีค่
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
68
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม