fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
: การหาอิทธิพลของแรงเสียดทานและความเร็วของหัวกดต่อความแข็งของชิ้นงานทุบขึ้นรูปเย็นวัสดุ S20C ด้วยกรรมวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ : การศึกษานี้มุ่งตรวจสอบผลกระทบของค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานและความเร็วของหัวกดต่อความแข็งของเหล็ก S20C หลังการทุบขึ้นรูปเย็น โดยใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ผ่านโปรแกรมวิศวกรรมสำเร็จรูป Simufact Forming พิจารณาระดับค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน 5 ระดับประกอบด้วย 0.02, 0.04, 0.06, 0.08, และ 0.10 ใช้ความเร็วการเคลื่อนที่ของหัวกด 3 ระดับประกอบด้วย 200, 220 และ 240 มิลลิเมตร ต่อ วินาที บนแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปเย็นแบบ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วยแม่พิมพ์เตรียมรูปทรงเริ่มต้น แม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปชิ้นงานตามแบบ และแม่พิมพ์ตัดขอบ ผลการจำลองด้วยโปแกรมพบว่า ความเร็วการเคลื่อนที่ของหัวกดสูงทำให้วัสดุไหลได้เร็วขึ้นมีโอกาสเกิดการกระจายความเครียดที่ไม่สม่ำเสมอในชิ้นงานและเพิ่มอุณหภูมิในพื้นที่ที่มีแรงเสียดทานสูงจากความร้อนที่เกิดขึ้น ทำให้ความแข็งลดลงในบางจุด ความเร็วต่ำส่งผลให้การกระจายความเครียดดีขึ้นและเกิดความเครียดแข็งมากขึ้น ส่งผลต่อความแข็งที่สม่ำเสมอ แรงเสียดทานสูงทำให้การไหลของวัสดุถูกจำกัด โดยเฉพาะบริเวณผิวสัมผัสของแม่พิมพ์และชิ้นงาน แรงเสียดทานต่ำช่วยให้วัสดุไหลได้ดีขึ้น ลดการสะสมของแรงกดในพื้นที่เฉพาะ ทำให้ความแข็งกระจายสม่ำเสมอมากขึ้น การควบคุมความเร็วหัวกดและแรงเสียดทานให้อยู่ในระดับสมดุลจะช่วยให้ชิ้นงานมีความแข็งที่เหมาะสมและกระจายตัวสม่ำเสมอ พร้อมทั้งลดปัญหาอุณหภูมิสูงและความเสียหายของแม่พิมพ์ในกระบวนการผลิต ที่ระดับสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน 0.04 ระดับความเร็วของหัวกดที่เหมาะสมที่ 220 มิลลิเมตรต่อวินาที ให้ค่าอุณหภูมิ การกระจายความเครียด การไหลของเนื้อวัสดุและแรงกดที่ส่งผลให้ได้ค่าความแข็งของชิ้นงานเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับผลการทดลอง ผลการศึกษานี้นำเสนอข้อเสนอแนะที่สำคัญสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพสภาพการทุบขึ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
84 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250