fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการให้บริการจัดส่งอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร : สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมพฤติกรรม และความพึงพอใจต่อการให้บริการจัดส่งอาหาร กรณีศึกษา ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และ นำ มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS โดยสถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ในการทดสอบสมมติฐานใช้ค่าสถิติ T-test และค่าสถิติ F-test (One- Way ANOVA) และทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ LSD ทดสอบความสัมพันธ์ ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม โดยใช้สถิติไคร์สแควร์ (Chi-Square) ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มี การศึกษาระดับปริญญาตรี นักเรียน/นักศึกษา มีสถานภาพโสด พักอาศัยอยู่บ้าน และมีรายได้ เฉลี่ย 15,001-25,000 บาทต่อเดือน บริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด 1-2 ครัง้ ต่อเดือน จากร้านเคเอฟซี (KFC) มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง 301-500 บาท ความพึงพอใจต่อการให้บริการจัดส่งอาหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านความเชื่อถือได้ ด้านความมัน่ ใจได้ และด้านความเห็นอกเห็นใจ ตามลำดับ โดยปจั จัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพ สถานภาพสมรส รูปแบบที่พักอาศัย และรายได้ เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ความพึงพอใจต่อการให้บริการจัดส่งอาหารโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของความสัมพันธ์ พบว่า วัตถุประสงค์ในการสัง่ อาหารเดลิเวอรี่มารับประทาน และร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่สัง่ บ่อยที่สุด มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อความสามารถในการจัดส่งอาหารเดลิ
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
120
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม