fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การเปรียบเทียบระบบการจัดซื้อจัดหาแบบดั้งเดิมกับ ระบบ E-Procurement กรณีศึกษา บริษัทประกอบรถยนต์ในจังหวัดชลบุรี : งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการในการทำงานของแผนกจัดซื้อก่อน
และหลังจากนำระบบ E-Procurement มาใช้โดยมีวัตถุประสงค์1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระบบ
การจัดซื้อแบบดั้งเดิมและการจัดซื้อแบบ E-Procurement 2. เพื่อศึกษาผลที่ได้รับจากการนำ
ระบบ E-Procurement มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อจัดหา โดยมีการเก็บข้อมูล
ด้วยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานและทำการวิเคราะห์ผล หลังจากได้ผลจาก
การวิเคราะห์แล้วจึงทำการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อยืนยันว่าผลที่ได้จากการวิเคราะห์
สอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผลการศึกษาหลังจากเปลี่ยนมาใช้ระบบ E-Procurement พบว่าประโยชน์ที่ได้รับจากระบบ
E-Procurement ได้แก่1. สามารถลดเวลาในการทำงานลงร้อยละ 58 2. ระบบ E-Procurement
สามารถป้องกันความผิดพลาดจากการป้อนราคาของพนักงาน 3.การทำงานของแผนกจัดซื้อ
เป็นมาตรฐานมากขึ้น ในเรื่องของรูปแบบการเสนอราคา และความโปร่งใสในการเสนอราคาจาก
ซัพพลายเออร์ 4. ช่วยในการติดตามสถานะการทำงาน เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการ
ติดตามงาน 5. ช่วยสนับสนุนกลยุทธ์การจัดซื้อจัดหาแบบทั่วโลก สามารถทำการเปรียบเทียบ
ราคาของแต่ละประเทศผ่านระบบได้อย่างรวดเร็ว 6. การเก็บข้อมูลด้านราคาอย่างเป็นระบบ
นอกจากนี้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการทำงานบนระบบ E-Procurement ให้มี
ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ได้แก่การสร้างความชำนาญในการใช้งานระบบของพนักงาน โดยการ
จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อสร้างความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็วเพิ่มขึ้น
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
67 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250