fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การนำหลักการระบบการผลิตแบบลีนมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมงานกลึง กรณีศึกษา โรงงานผลิตชิ้นงาน Rotary Valve : การศึกษานี้ เป็นกรณีศึกษาโรงงานกลึงขนาดเล็ก โดยทำการศึกษาวิจัยชิ้นงาน
Rotary Valve โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย
อาศัยเครื่องมือหลักการแผนภาพสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping) แผนภาพ
กระบวนการ (Flow Process Chart) เข้ามาทำการวิเคราะห์กระบวนการผลิต
จากสภาพปัจจุบันของการผลิตชิ้นงาน Rotary Valve พบว่ากระบวนการผลิตนั้น
เวลาในการผลิต 178 นาที 78 วินาที และมีขั้นตอนในการผลิตทั้งหมด 12 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการ
ผลิตที่ใช้เวลานานในการผลิตประกอบกับได้พบปัญหาหลายประการในกระบวนการผลิต ผู้วิจัย
จึงได้นำหลักการลีน โดยใช้เครื่องมือแผนสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping) เข้ามา
ทำการวิเคราะห์โดยได้จัดทำแผนภาพสายธารแห่งคุณค่าปัจจุบัน เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลและ
หาความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต ประกอบกับได้ใช้แผนภาพกระบวนการ
(Flow Process Chart) เข้ามาทำการวิเคราะห์ร่วมด้วย หลังจากนั้นจึงได้ดำเนินการจัดทำแผน
ภาพสายธารคุณค่าแห่งอนาคตขึ้น เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของทางโรงงาน
ต่อไป ผลการวิจัยเมื่อได้ใช้ระบบลีนนำมาแก้ไขปัญหาพบว่า สามารถลดขั้นตอนการผลิตลงจาก
เดิม 12 ขั้นตอน ลดลงเป็น 10 ขั้นตอน และสามารถลดเวลาในการผลิตลงได้จากเดิม 144 นาที
14 วินาที เหลือเพียง 58 นาที และยังสามารถลดแรงงานที่ใช้ในการผลิตลงได้จากเดิม 3 คน
เหลือเพียง 1 คน โดยสรุปแล้วสามารถลดต้นทุนในการผลิตทั้งหมดลงได้จากเดิม 442,800 บาท
ต่อปี เหลือเพียง 303,600 บาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 31.43 และสามารถลดต้นทุนค่าแรงลงได้
จาก 26,400 บาทต่อเดือนเหลือเพียง 17,600 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 33.33 จากนั้นจึงได้
กำหนดเป็นมาตรฐานในการทำงานเพื่อใช้เป็นคู่มือในการ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
87 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250