fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักร กรณีศึกษา กระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว : การศึกษานี้ เป็นกรณีศึกษาโรงงานผลิตพลาสติกประเภทบรรจุภัณฑ์แบบอ่อน มี วัตถุประสงค์เพื่อนำหลักการและเทคนิค Single Minute Exchange of Die : SMED เพื่อลด เวลาในการปรับตั้ง (Setup Time) ในกระบวนการผลิตซองบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนให้ลดลงได้ มากกว่า 50% โดยอาศัยเครื่องมือในการวิเคราะห์ ได้แก่ แผนภูมิวิเคราะห์การทำงานระหว่าง พนักงานกับเครื่องจักร (Man-Machine Chart) แผนผังสาเหตุและผล (Case and Effect Diagram or Fishbone Diagram) จากสภาพปัจจุบันของกระบวนการผลิตซองบรรจุภัณฑ์แบบอ่อน พบว่ากระบวนการ ในการปรับตั้งเครื่องจักรใช้เวลา 151 นาทีและมีขั้นตอนเท่ากับ 24 ขั้นตอน จึงได้แยกงานภายใน ออกจากงานภายนอกตามหลักการและเทคนิค SMED แยกการติดตั้งงานภายในมาเป็นการ ติดตั้งภายนอก 6 ขั้นตอน นอกจากนั้นได้ประยุกต์หลักการ ECRS ในการกำจัดความสูญเปล่า ในการรอคอย (Elimination) และการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ง่ายขึ้น (Simplification) ทำให้ สามารถลดเวลาในการปรับตั้ง ได้เหลือ 34 นาที หรือร้อยละ 77.48 จากเวลาที่ใช้ในการปรับตั้ง ก่อนการปรับปรุง โดยหลังจากทำการปรับปรุงแล้วส่งผลให้ยอดการผลิตเพิ่มขึ้น 185,328 ซอง ต่อเดือน (5,559,840 บาทต่อเดือน) จากนั้นได้กำหนดมาตรฐานและคู่มือปฏิบัติงาน (Work Instruction) ไว้สำหรับปฏิบัติงานการปรับตั้งเครื่องจักรของแผนกทำซองบรรจุภัณฑ์
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
103
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม