fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
ปัจจัยแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของพนักงาน
ระดับปฏิบัติการและระดับบริหารชั้นต้น 2. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน
ของพนักงานและ 3. ปัจจัยแรงจูงใจ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์
กับระดับความสุขในการทำงานของพนักงาน โดยทำการเก็บข้อมูลจากพนักงานประจำบริษัท
บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 250 คน
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง (Self-Administered
Questionnaire) ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นพนักงานเพศชาย จำนวน
127 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50.80 มีอายุระหว่าง 26-30 ปี มากที่สุด จำนวน 79 คน คิดเป็น ร้อยละ
31.60 มีสถานภาพโสดมากที่สุดจำนวน 158 คน คิดเป็นร้อยละ 63.20 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
20,001-30,000 บาท มากที่สุด จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 49.60 อายุงานในที่ทำงานปัจจุบัน
น้อยกว่า 5 ปี มากที่สุด จำนวน 121 คน คิดเป็นร้อยละ 48.40 ระดับคุณสมบัติระดับปฏิบัติการ
ชั้นกลาง มากที่สุด จำนวน 140 คน คิดเป็นร้อยละ 56.00 ประเภทงานผลิต และวิศวกรรมการผลิต
มากที่สุด จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 17.60
สำหรับระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน กลุ่มตัวอย่างให้ความ
คิดเห็นต่อปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อความสุขในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47 สำหรับปัจจัย
ค้ำจุนที่มีผลต่อความสุข ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความคิดเห็นในระดับปานกลาง
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
132 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250