fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การศึกษาวินิจฉัยด้านการจัดการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต และลดความสูญเสีย 7 ประการ กรณีศึกษาสายการผลิต LEVER TILE : วัตถุประสงค์ในการศึกษานี้ เพื่อประยุกต์ใช้ความรู้การวินิจฉัยองค์กร เพื่อสำรวจวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของปัญหาด้านการจัดด้านการผลิต, วิเคราะห์ประสิทธิภาพและความสูญเปล่าของกระบวนการผลิต , ปรับปรุงประสิทธิภาพของสายการผลิตให้สูงขึ้น, ลดความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการ และต้นทุนในกระบวนการผลิต โดยทำการศึกษากรณีตัวอย่างการจัดการผลิตของ บริษัท บุญส่งพรีซิชั่นซัพพลาย จำกัด ในการผลิตชิ้นงาน Lever Tilt ผลการศึกษา พบว่าด้านการบริหารจัดการด้านการผลิตไม่มีประสิทธิภาพส่งผลกระทบต่อการส่งมอบชิ้นงานล่าช้าถึงร้อยละ 40.00, มีอัตราชิ้นงานเสียถึงร้อยละ 9.67 และมีชิ้นงานส่งคืนจากลูกค้าถึงร้อยละ 12.61 มีอัตราการเก็บวัสดุคงคลังรวมถึงชิ้นงานระหว่างกระบวนการผลิตและชิ้นงานสำเร็จสูงถึงร้อยละ 141.03 ในเดือนมกราคม และรวมถึงการมีโครงสร้างต้นทุนที่สูงถึงร้อยละ 97.33 จากต้นทุนวัตถุดิบทางตรงและทางอ้อมถึงร้อยละ 73.32 ที่ส่งผลให้สามารถมีอัตราส่วนการทำกำไรเพียงร้อยละ 2.67 และในการควบคุมการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลให้มีประสิทธิภาพการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 50.10 หรือมีปริมาณผลการดำเนินการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 2,231 ชิ้นต่อวัน และมีความสัมพันธ์การทำงานระหว่างคนและเครื่องจักรที่ไม่สมดุลโดยคนมีเวลาการทำงานสูงถึงร้อยละ 79.27 หรือ 15.30 วินาที และมีช่วงเวลารอคอยเครื่องจักรทำงานเพียงร้อยละ 20.73 หรือ 4 วินาที ส่งผลให้การดำเนินการผลิตมีประสิทธิภาพอยู่เพียงร้อยละ 78.35 ที่มีประสิทธิภาพด้านการผลิตอยู่เพียงร้อยละ 54.66 จากขั้นตอนการผลิตทั้งหมด
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
5 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม