fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
ทฤษฏีการบริหารองค์กรแบบ Z ของ William G Ouchi ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร และความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : วิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารองค์กรตามทฤษฎี Z ของ วิลเลี่ยม จี อูจิ(William G Ouchi’s Theory Z) ที่ส่งผลต่อความผูกพันและความจงรักภักดีของ พนักงานที่มีต่อองค์กร กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาคือพนักงานที่ปฏิบัติหน้าในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กทรอนิคส์ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จังหวัดอยุธยา จำนวน 140 คน ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลการวิจัย ทดสอบสมมุติฐานด้วยการวิเคราะห์ความถดถอย พหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นแบบง่าย (Simple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทั้ง 7 ด้านของการบริหารองค์กรแบบ Z ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งหมด 2 ด้าน ได้แก่การมีความ เกี่ยวข้องกันในลักษณะครอบครัวส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์มากที่สุด และการตัดสินใจเป็น เอกฉันท์ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรเป็นอันดับรองลงมา ในด้านรูปแบบการบริหารองค์กร แบบ Z ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กร จากผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทั้ง 7 ด้านของรูปแบบ การบริหารองค์กรแบบ Z ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งหมด 2 ด้าน ได้แก่การควบคุมในตนเองอย่างไม่เป็นทางการ โดยการวัดผลอย่างชัดเจนและเป็นทางการ ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์มากที่สุด และด้านการมีความเกี่ยวข้องกันในลักษณะครอบครัว ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรเป็นอันดับรองลงมา นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่าความผูกพัน ของพนักงานที่มีต่อองค์กร ส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
106 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม