fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบปรับอากาศที่ใช้คอมเพรสเซอร์กระแสตรง : การนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในระบบปรับอากาศ นอกจากเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษจากการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยการนำไฟฟ้ากระแสตรงจากโซลาร์เซลล์เพื่อจ่ายให้ชุดแบตเตอรี่และเครื่องปรับอากาศแบบรับไฟฟ้ากระแสตรง มีข้อดีคือไม่ต้องมีการแปลงไฟฟ้าเป็นกระแสสลับเพื่อใช้กับเครื่องปรับอากาศไฟฟ้ากระแสสลับโดยทั่วไป งานวิจัยนี้จึงมุ่งพัฒนาและทดสอบระบบปรับอากาศชนิดไฟฟ้ากระแสตรง ให้ทำงานร่วมกับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาได้ ระบบปรับอากาศไฟฟ้ากระแสตรงจากเซลล์แสงอาทิตย์นี้ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแบบจำลองสำหรับตู้เก็บเงินทางด่วน ระบบทดสอบมีการติดตั้งเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์เพื่อตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้น ความต่างศักย์ กระแสไฟฟ้า และความเร็วลม โดยค่าการวัดอุณหภูมิและความชื้นอากาศได้รับการบันทึกลงในคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล และมีการใช้แบบสอบถามผู้เข้าร่วมทดสอบเพื่อประเมินความสบายทางอุณหภาพด้วย ผลการทดสอบแสดงว่าอัตราการทำความเย็นของระบบปรับอากาศสูงสุดมีค่า 7,981 Btu/hr และสัมประสิทธิ์สมรรถนะการทำความเย็น (COP) มีค่า 3.2 อัตราการทำความเย็นต่อการใช้พลังงาน (EER) มีค่าเท่ากับ 10.9 ตามมาตรฐาน มอก. ได้ค่าประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 สรุปว่า มีความเป็นไปได้ที่จะประยุกต์ใช้ระบบปรับอากาศแบบรับไฟฟ้ากระแสตรงจากชุดแบตเตอรี่ ที่ประจุโดยระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา เพื่อปรับสภาพอากาศภายในห้องเก็บเงินทางด่วนให้มีความสบายทางอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับผู้ทำงาน หากแบตเตอรี่ประจุเต็มเริ่มใช้งานประมาณเที่ยงวันก็จะใช้งานได้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง และมีคุ้มค่าที่จะพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ระบบมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนมากขึ้น
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
92 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม