fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การศึกษาการนำการบริการแบบญี่ปุ่น OMOTENASHI มาพัฒนาการบริการในประเทศไทย : การศึกษาค้นคว้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุดอ่อนและจุดแข็งของการบริการของไทยและการบริการของญี่ปุ่นแบบ OMOTENASHI ในมุมมองของชาวญี่ปุ่นที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร 10 คน โดยมีเครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลปฐมภูมิของการศึกษาเป็นแบบสอบถาม โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
ผลการศึกษาพบว่า ชาวญี่ปุ่นมองจุดอ่อนของการบริการของไทย คือ ความไม่ละเอียดเรียบร้อยในการให้บริการ ความแตกต่างของคุณภาพจากบุคลากร และ การแสดงออกที่ไม่สุภาพ ในส่วนของจุดแข็งของการบริการของไทย คือความยืดหยุ่นในการให้บริการและความเป็นมิตร อีกด้าน ผลการศึกษาถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของการบริการของญี่ปุ่นแบบ OMOTENASHI พบว่า พบจุดอ่อนคือ การให้บริการที่ล่วงล้้าหรือมากเกินไป และการขาดความยืดหยุ่น ในส่วนของจุดแข็ง ผู้ศึกษาพบว่าการให้บริการของญี่ปุ่นมีจุดแข็งคือการให้บริการด้วยจิตใจบริการ และการสร้างมาตรฐานการบริการ เมื่อน้าจุดแข็งของการบริการของญี่ปุ่น มาปรับเข้ากับจุดแข็ง และแก้ไขจุดอ่อนของการบริการของไทย
ผู้ศึกษาว่า การบริการของไทยควรเริ่มต้นจากการปลูกฝังจิตใจบริการ ผู้บริหารจะต้องใส่ใจพนักงานผู้ให้บริการ และน้าแนวการบริการมาสร้างออกเป็นคู่มือการบริการที่ชัดเจนเหมือนของญี่ปุ่น และมีการจัดการเรื่องของการอบรมพนักงานอยู่เสมอ อีกทั้งการสร้างคู่มือการบริการ ก็ไม่ควรก้าหนดกรอบความคิดความสามารถในการบริการของคนไทยเสียเกินไป ควรท้าให้คนไทยเข้าใจและมีอิสระในการให้บริการจากใจของผู้ให้บริการทั้งนี้เพื่อเติมเต็มการบริการให้มีคุณภาพแบบญี่ปุ่น และรักษาความยืดหยุ่นของบริการไทยเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่เหมือนกันของผู้ได้รับการบริการแต่ละคน
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
5 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250