fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและความตั้งใจในการใช้งานนาฬิกาอัจฉริยะ โดยใช้แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ แตกต่างกันที่ส่งผลต่อทัศนคติต่อนาฬิกาอัจฉริยะ 2) เพื่อศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีที่ ส่งผลต่อทัศนคติต่อนาฬิกาอัจฉริยะ 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อทัศนคติ นาฬิกาอัจฉริยะ 4) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อนาฬิกาอัจฉริยะที่ส่งผลต่อการตั้งใจในการใช้ นาฬิกาอัจฉริยะของผู้บริโภค การวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 508 ตัวอย่าง และคัดเลือกเฉพาะผู้ที่ รู้จักนาฬิกาอัจฉริยะจำนวน 415 ตัวอย่าง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent T-test และ 1-way ANOVA และใช้สถิติเชิงอนุมาน Multiple Regression การวิจัยมีข้อค้นพบสำคัญ ได้แก่ 1) เพศ อายุ ระดับรายได้ ต่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับนาฬิกาอัจฉริยะไปในทิศทางเดียวกันและ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับกลาง ยกเว้นระดับการศึกษาที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับนาฬิกาอัจฉริยะที่ แตกต่างกัน โดยผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีทัศนคติต่อนาฬิกาอัจฉริยะที่สูง หากได้รับข้อมูล และความรู้เพิ่มเติมจะทำให้การรับรู้คุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้นก็จะทำให้ทัศนคติและ การตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น 2) การรับรู้เรื่องคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์และความง่ายในการใช้งาน ของผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อนาฬิกาอัจฉริยะ ซึ่งสามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดการ ยอมรับเทคโนโลยีใหม่มากขึ้นเช่นกัน 3) ส่วนประสมการตลาดทางด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทาง จำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อต่อทัศนคติต่อนาฬิกาอัจฉริยะ รูปร่าง หน้าตาและการทำงานที่ตอบสนองต่อความต้องการ ช่องทางการจัดจำหน่ายที่เข้าถึงง่ายและมี ความน่าเชื่อถือ หากเจ้าของผลิตภัณฑ์สามารถสื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ถึงส่วนประสมทาง การตลาดทั้ง 3 นี้จะช
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
109
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม