fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การสื่อสารต่างวัฒนธรรมส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในการทำงาน กรณีศึกษา บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารต่างวัฒนธรรม
และประสิทธิภาพการสื่อสารในการทำงาน 2) การสื่อสารต่างวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ
การสื่อสารในการทำงาน
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานประจำ ซึ่งมีตำแหน่ง
ตั้งแต่ พนักงานทั่วไปจนถึงระดับผู้จัดการ ในบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง จำนวนทั้งสิ้น 358 คน โดย
การตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอย
เชิงพหุ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นการสื่อสารต่างวัฒนธรรม และประสิทธิภาพ
การสื่อสารในองค์กร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ด้านความสัมพันธ์ของปัจจัย พบว่าด้าน
ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสื่อสาร มากที่สุด ที่ระดับความสัมพันธ์กันปานกลาง
(R = 0.451) รองลงมา คือ ด้านสภาพสังคมและวัฒนธรรม ที่ระดับความสัมพันธ์กันปานกลาง
(R = 0.437) ด้านทักษะการสื่อสาร ที่ระดับความสัมพันธ์กันต่ำ (R = 0.122) ตามลำดับ ส่วนใน
ด้านความรู้ มีระดับความสัมพันธ์กันต่ำ (R = 0.067) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3)
ด้านอิทธิผลของปัจจัย พบว่า การสื่อสารต่างวัฒนธรรม ด้านทัศนคติ (X2) ด้านสภาพสังคมและ
วัฒนธรรม (X4) และด้านทักษะการสื่อสาร (X1) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสื่อสาร (Y1) อย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปร (β) = 0.171 (b =
0.156), 0.308 (b = 0.301) และ 0.300 (b = 0.254) ตามลำดับ และมีค่าคงที่ของสมการ
พยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ (a) = 1.128 สามารถนำมาสร้างสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้ Y1 =
a + X1 + X2 + X4 เมื่อนำมา
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
86 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250