fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท โซนี่ ดีไวซ์เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด : การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative
Research) โดยทําการศึกษาความคิดเห็นของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัท โซนี่
ดีไวซ์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด จํานวน 215 คน ตอบกลับ 140 คน
โดยสถิติที่ใช้ในการศึกษามีดังนี้ คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive
Statistics) โดยใช้สถิติพื้นฐานสถิติร้อยละ ค่าเฉลียเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐานและทดสอบค่าสถิติ Independent Sample T-test ด้วยวิธีการ
วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA พบว่า จาก
สมมุติฐานว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงานแตกต่างกันนั้น พบว่าเพศ
ที่แตกต่างกัน มีผลต่อปัจจัยที่แตกต่างกันคือ ด้านรูปแบบการมีส่วนร่วมกับ
กิจกรรมไคเซ็น และด้านการฝึกอบรมช่วงอายุ มีผลต่อปัจจัยที่แตกต่างกัน
คือด้านรูปแบบการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมไคเซ็นด้านแรงจูงใจด้านการ
ฝึกอบรม และด้านการสื่อสาร ระดับการศึกษา มีผลต่อปัจจัยที่แตกต่างกัน
คือ ด้านการฝึกอบรม และด้านรูปแบบการนําเสนอไคเซ็น ประสบการณ์ใน
การทํางานมีผลต่อปัจจัยที่แตกต่างกันคือ ด้านรูปแบบการมีส่วนร่วมกับ
กิจกรรมไคเซ็นด้านแรงจูงใจด้านการฝึกอบรมและด้านรูปแบบการนําเสนอ
ไคเซ็น ตําแหน่งงาน มีผลต่อปัจจัยที่แตกต่างกันคือ ด้านรูปแบบการมีส่วน
ร่วมกับกิจกรรมไคเซ็น ประเภทของรายได้ มีผลต่อปัจจัยที่แตกต่างกันคือ
ด้านรูปแบบการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมไคเซ็นและปัจจัยการมีส่วนร่วมใน
กิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงาน พบว่าด้านที่มี
ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านแรงจูงใจอยู่ในระดับมากรองลงมาคือ ด้านการสื่อสาร
อยู่ในระดับมาก ด้านรูปแบบการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมไคเซ็นอยู่ในระดับ
มาก ด้านการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก และด้านรูปแบบ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
6 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250