fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัท A : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีของพนักงาน และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วน บุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงาน องค์กรญี่ปุ่นแห่ง หนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการหาค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-35 ปี มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท และมีประสบการณ์ในการทำงานกับองค์กร 1-2 ปี ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาการปฏิบัติงานกับองค์กร มีความจงรักภักดีต่อ องค์กรแตกต่างกัน และพบว่า ปัจจัยแรงจูงใจด้านความต้องการความสำเร็จ (r=0.698) ปัจจัยแรงจูงใจด้านความต้องการความผูกพัน (r=0.740) และปัจจัย แรงจูงใจด้านความต้องการอำนาจ (r=0.775) มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีใน ระดับสูงในทุกด้าน
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
6
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม