fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การประยุกต์การแก้ปัญหาคุณภาพด้วยคิวซีสตอรี กรณีศึกษา : วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อหามาตรการการลดข้อ
ร้องเรียนของลูกค้าและอัตราส่วนของเสียต่อล้านส่วนของชิ้นส่วนวงกบ
ประตูรถยนต์เพื่อการส่งออก เพื่อลดความไม่พึงพอใจของลูกค้า โดย
ดำเนินการตามขั้นตอนของคิวซีสตอรีทั้ง 7 ขั้นตอนของ JUSE (Union
of Japanese Scientists and Engineers) การศึกษาได้ประยุกต์ใช้
ขั้นตอนของคิวซีสตอรี ในการวิเคราะห์ปัญหาคุณภาพที่เคยได้รับข้อ
ร้องเรียนจากลูกค้าในช่วง ตุลาคม 2555-กรกฎาคม2556 พบว่าปัญหา
ข้อร้องเรียนที่ได้รับจากลูกค้ามากที่สุด มาจากการขัดแต่งผิวชิ้นส่วน
ไม่ได้ตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ เนื่องจากพนักงานขัดแต่งมีความ
เข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องลักษณะของผิวชิ้นส่วนตามข้อกำหนดที่ลูกค้า
ต้องการ และวิธีการตรวจสอบที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้ชิ้นส่วนที่มีตำหนิ
บางส่วนหลุดรอดไปยังลูกค้า ผลการแก้ปัญหาตามขั้นตอนของคิวซี
สตอรี สามารถหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหาเพื่อกำหนดมาตรการแก้ไข
หลังการดำเนินกิจกรรม ข้อร้องเรียนปัญหาคุณภาพที่เกิดจากการขัด
แต่งผิวที่ไม่ได้มาตรฐานลดลงจากเดิม 20 ครั้ง เหลือศูนย์ โดยไม่เกิด
ปัญหาเดิมซ้ำจนถึงปัจจุบัน และจำนวนการได้รับข้อร้องเรียนสำหรับ
ปัญหาอื่น ทุกปัญหาจากเดิม 4.5 ฉบับต่อเดือน เหลือ 1 ฉบับต่อเดือน
อัตราส่วนของเสียต่อล้านส่วน ลดลงจากเดิม 5,633 DPPM (Defect Part
Per Million) ต่อเดือน เหลือ 222.8 DPPM ต่อเดือน
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
5 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250