fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การประยุกต์ ซิกซ์ ซิกม่า เพื่อปรับปรุงคุณภาพกระบวนการผลิต กรณีศึกษา การผลิตชิ้นส่วนฮับที่ใช้สำหรับการประกอบสปินเดิลมอเตอร์ : การศึกษานี้ เป็นการประยุกต์ใช้วิธีการ ซิกซ์ ซิกม่า ร่วมกับองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพกระบวนการผลิตในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนฮับที่ใช้สำหรับการประกอบสปินเดิลมอเตอร์ โดยมีขั้นตอนการดำเนินการคือ 1.) การกำหนดหัวข้อ (D-Define) เป็นการเลือกหาชนิดของข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนฮับและรุ่นของฮับที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตเป็นอย่างมาก มาทำการปรับปรุงและแก้ไข 2.) การวัด (M-Measure) เป็นการทำความเข้าใจขั้นตอนในกระบวนการผลิตฮับ และประเมินผลการตรวจสอบของพนักงานตรวจสอบด้วยสายตา เทียบกับความต้องการของลูกค้าหรือมาตรฐาน โดยใช้เครื่องมือทางสถิติที่เรียกว่า GR&R (Gage Repeatability and Reproducibility) ในรูปแบบของข้อมูลเชิงคุณภาพ (Attribute Data) 3.) การวิเคราะห์ (A-Analysis) เป็นการวิเคราะห์และค้นหาสาเหตุที่ส่งผลต่อการเกิดข้อบกพร่อง โดยใช้วิธีการทางสถิติ 4.) การปรับปรุง (I-Improve) เป็นการดำเนินโครงการตามแนวทางที่ได้กำหนด พร้อมทั้งเก็บข้อมูลหลังจากการดำเนินการ จากนั้นทำการเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการปรับปรุง 5.) การควบคุม (C-Control) เป็นการวางข้อกำหนดเพื่อทำให้อุปกรณ์ที่ปรับปรุงแล้วมีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จากผลการดำเนินการสามารถลดจำนวนข้อบกพร่องชนิดที่มีเศษติดยื่นออกมา (Burr) ของฮับรุ่น Brinks ลดลง 66.07% โดยลดจาก 1.21% เหลือ 0.47% และสามารถพิจารณาลดจำนวนพนักงานตรวจสอบด้วยสายตา เพื่อลดต้นทุนจากการจ้างงานได้ในอนาคต
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
5
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม