fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การจัดการสินค้าคงคลังด้วยการกำหนดเป้าหมายเป็นจำนวนวันของการจัดเก็บสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาของโรงงานประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ : จากการศึกษาการจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปคงคลังของโรงงานกรณีศึกษา เป็นการกำหนดปริมาณการจัดเก็บแต่ละรุ่นการผลิตตามดัชนีชี้วัดผลงาน (Key Performance Indicator : KPI) ซึ่งเป็นการตั้งเป้าหมายเป็นจำนวนวันของสินค้าคงคลังที่มีอยู่ (Number of Day of Inventory on Hand : DOH) ซึ่งไม่มีการจำแนกสาเหตุในการจัดเก็บสินค้าคงคลังและไม่ได้คำนึงถึงความถี่ ในการหมุนเวียนของสินค้า จึงไม่สามารถกำหนดระบุการปรับปรุงและพัฒนาจากสาเหตุที่แท้จริงได้ ผู้ศึกษาจึงทำการกำหนดเป้าหมายในการจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปคงคลังออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สินค้าคงคลังสำหรับการจัดเตรียมส่งให้ลูกค้า (Standard Stock) สินค้าคงคลังสำหรับความผันผวนของคำสังซื้อจากลูกค้า (Fluctuation Stock) และสินค้าคงคลังสำรองสำหรับป้องกันความเสี่ยงจากการผลิตและการจัดส่ง (Safety Stock) ทำการออกแบบเครื่องมือช่วยในการควบคุมโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel ในการบันทึกข้อมูลและแสดงผลในรูปแบบกราฟ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการติดตามและวิเคราะห์ปัญหาในการจัดเก็บแต่ละวัน จากการปรับปรุงพบว่าสามารถลดเป้าหมายการจัดเก็บสินค้าคงคลัง DOH จากเดิม 5 วัน ลดลงเหลือ 3.4 วัน ซึ่งลดปริมาณการจัดเก็บไป 32% และยังนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปปรับปรุงพื้นที่การจัดเก็บสินค้าคงคลังด้วยวิธีการจำแนกประเภทสินค้าแบบ ABC ซึ่งช่วยลดระยะทางและเวลาการทำงานของพนักงานจัดงานในการนำสินค้าจากที่จัดเก็บมาที่พื้นที่จัดสินค้า และช่วยให้พื้นที่การจัดเก็บสินค้ามีระเบียบมากขึ้นด้วย
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
5 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250