fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การปรับปรุงกระบวนการพิมพ์โค้ดเดทแบบหมึกบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ด้วยเครื่องมือ QCC ผ่านกระบวนการ QC Story : การศึกษานี้ได้ทำการศึกษาขั้นตอนการดำเนินกระบวนการแก้ไขปัญหาคุณภาพเรื่องการพิมพ์โค้ดเดทผิดตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการเปลี่ยนโค้ดเดทแบบหมึกบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคทั้ง 7 ขั้นตอน ตาม QC Story ของ JUSE โดยผ่านการสังเกตุการณ์และการทำกิจกรรมต่างๆ และการวางแผนกิจกรรมการแก้ไขปัญหาของกลุ่ม QCC โดยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ปีที่ผ่านมาโดยใช้แผนภาพก้างปลา(Fish Bone Diagram) ในการวิเคราะห์หาสาเหตุรากเหง้าของปัญหาพบว่ามีสาเหตุมาจากกระบวนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน ความเผลอเรอ รวมถึงการละเลยขั้นตอนการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน อีกทั้งบางกระบวนการที่เกี่ยวข้องไม่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความผิดพลาดขึ้นได้
จากการศึกษาหลักการและงานวิจัยในการกำหนดมาตรการตอบโต้เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพในครั้งนี้ POKA YOKE ได้ถูกนำมาใช้ในการพิจารณาในการป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากตัวพนักงาน และเพื่อเปลี่ยนการควบคุมคุณภาพให้เป็นการป้องกันปัญหามิให้เกิดข้อบกพร่องขึ้นซ้ำอีก จากผลการศึกษา พบว่าจำนวนครั้งของข้อบกพร่องในการพิมพ์โค้ดเดทต่อปริมาณการผลิต สามารถลดลงได้ถึง 70% อีกทั้งสามารถลดต้นทุนด้านคุณภาพลงได้ 85% จาก 675,000 บาทในปี 2553 ลดลงเหลือประมาณ 100,000 บาทในปี 2554
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
3 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250